ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem (CRE) ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ศรีพนม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistance Enterobacteriaceae (CRE) ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา, Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE), ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา CRE

ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ*

     สุภาพร  ศรีพนม พย.ม.**               

            ดลวิวัฒน์  แสนโสม  Ph.D.*** 

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบ nonrandomized controlled trial เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา CRE ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่ใส่ท่อและใช้เครื่องช่วยหายใจ เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2 กลุ่ม 1) ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ112 คน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 56 คนและกลุ่มทดลอง 56 คน2) พยาบาลวิชาชีพ 43 คนในหอผู้ป่วย RCU และ MICU-LT โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเครื่องมือ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลฯWHAPO-CRE CNPG  แบบคัดกรองความเสี่ยง CRE แบบเฝ้าระวัง VAP-CRE  แบบบันทึกปฏิบัติกิจกรรม แบบสังเกตปฏิบัติกิจกรรมและแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความเสี่ยง VAP-CRE ใช้ Cox proportional hazard regressions

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่เกิด Early-onset VAP-CREผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบเกิด Late-onset VAP9.68 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มทดลองเกิด Late-onset VAP-CRE3.21 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มเปรียบเทียบมีความเสี่ยง Late-onset VAP-CRE มากเป็น2.59 เท่าของผู้ป่วยกลุ่มทดลอง (Crude HR=2.59,95% CI : 0.27-24.91) พยาบาลสามารถปฏิบัติตาม WHAPO ร้อยละ 91.42 CRE ร้อยละ 83.33 มีวินัยในการปฏิบัติ WHAPO ร้อยละ 91.80 CRE ร้อยละ 83.33  พยาบาลพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ ฯ ภาพรวมร้อยละ 82.32 ผลการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนว่า WHAPO-CRE ช่วยลดอุบัติการณ์VAP-CRE และแนวปฏิบัติการพยาบาล ฯ สามารถนำไปใช้ได้จริง

 

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistance Enterobacteriaceae (CRE)

 ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

References

1. BenjamasThamcharoentrakul&SaensomDonwiwat. Supra-cuff suction: Innovation for ventilator-associated pneumonia prevention. The Journal of Baromarajonani college of nursing Nakhonratchasima
2018; 24, 30-142.
2. BenjamasThamcharoentrakul&SaensomDonwiwat. Effects of using nursing practice guideline for ventilator associated pneumonia prevention: medical department. The Journal of Borommarajonani college of nursing Nakhonratchasima 2018;25, 1-18.
3. Centers for Disease control and prevention. Facility Guidance for control of carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) November 2015 Update - CRE Toolkit. [database on the Internet]. 2015 [cited 2018 November]. Available from https://www.cdc.gov/hai/pdfs/cre/CRE-guidance-508.pdf
4. Fitch, Z.W. & Whitman, G.J.R. Incidence, Risk, and Prevent of ventilator -associated pneumonia in adult cardiac surgical patients: A Systematic Review. J Card Surg2014;29: 196-203.
5. Jena, S. et al. Comparison of suction above cuff and standard endotracheal tubes in neurological patients for the incidence of ventilator-associated pneumonia and in- hospital outcome: A randomized controlled pilot study. Indian Journal of Critical Care Medicine2016; 20(5): 264-266.
6. KarmmukKanokphan, Kusuma Ayutthaya Sasima, &PinyopatsakulWonpeng. Oral care practice guideline in critically ill patients to prevent ventilator-associated pneumonia. Journal of Nursing Division 2019; 18(2): 1-11.
7. Munoz-Price, Mary K. Hayden, Karen Lolans,Sarah Won. Successful control of an outbreak of Klebsiella pneumonia Carbapenemase producing K.pneumoniae at a Long-Term Acute Care Hospital. Infection control &Hospital Epidemiology 2010; 31(4):341-347.
8. Perez Granda, M.J., Barrio, J.M., Hortal, J. Munoz, P. Rincon, C. &Bouza, E. Routine aspiration of subglottic secretions after majorly: impact on the incidence. J Hosp Infect2013; 85(4): 312-5.
9. PreudtiwatKulada, WongsaenRatchanee, ThanompanSuttiphun, &TariyoSamattanet. The effectiveness enhancement of patient care to reduce multi-drug resistance infection in medical and surgical department Nakornping Hospital. Journal of Nursing Division 2017; 44(3):10-33.
10. SakuneeSakeam,&KamrumPontrip. Infectious disease in hospital in Khonkaen hospital pediatric department. KhonKaen Journal 2008; 31, 144-155.
11. WisansawatJarukon.Carbapenem resistance of gram-negative bacteria resistance to multiple antimicrobial drug in MaharatNakhonratchasima hospital2009; 32, 19-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30