ประสิทธิผลของการจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การจัดการตนเองและครอบครัว, เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิดการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และแก้ไขในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ในการควบคุม กำกับดูแลตนเองเพื่อให้สามารถอยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มกลุ่มละ 56 คน กลุ่มทดลองได้รับความรู้ด้านโภชนาการ และการกำหนดอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน การใช้ยาสมเหตุผลโดยเฉพาะการใช้ยาสมุนไพร และการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้ง การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยรายบุคคลตามสภาพปัญหาและความต้องการในแต่ละราย การเสริมพลังอำนาจให้กำลังใจผู้ดูแล และครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานจากศูนย์สุขภาพชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ระดับความดันโลหิต ค่านำ้ตาลเฉลี่ยสะสม ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว พฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีอิสระ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีลักษณะส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม มีฐานะยากจน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นร่วมด้วยเมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลลัพธ์ทางคลินิก ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต(128.41/78.52, 134.93/83.70 มิลลิเมตรปรอท) ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (7.36, 8.93) และค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนเส้นรอบเอวของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน
การจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้มีพฤติกรรมการจัดการตนเองผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
References
2. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดลองโดยใช้ระยะเวลา 12 เดือน และประเมินผลหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรเพิ่มระยะติดตามผล เพื่อประเมินความคงอยู่ของพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิต
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ ด้วยความอนุเคราะห์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยขอขอบพระคุณโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(CKDNET) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สนับสนุนสื่อการสอน ทีมสหสาขาวิชาชีพ และกลุ่มตัวอย่างที่ช่วยให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
References
1. World Health Organization. Global Health Observatory (GHO) data. [internet]. WHO; [cited 2019 August 9.]. https://www.who.int/gho/ncd/mortality_morbidity/en/.
2. Gong B, Yu W, Wang H, YI R. Epidemiology of chronic noncommunicable diseases and evaluation of
life quality in elderly. Aging Medicine 2018; 1:64-6.
3. 5-Year National NCDs Prevention and Control Strategic and Action Plan (2017- 2021). Bureau of noncommunicable diseases, Department of Disease Control. Ministry of Public Health; 2017.
4. Srivanichakorn S. Morbidity and mortality situation of non-communicable diseases (diabetes type 2 and
cardiovascular diseases) in Thailand during 2010-2014. Disease Control Journal 2017;43(3):379-90
5. de Ferranti SD, de Boer IH, Fonseca V, Fox CS, Golden SH, Lavie CJ, et al. Type 1 diabetes mellitus and cardiovascular disease: a scientific statement from the American Heart Association and American Diabetes Association. Circulation 2014; 130:1110–30.
6. Singh SK, Srivastava S. Behavioral risk factors and non-communicable diseases among adult men in demographically developed states of India: evidence from District Level Household and Facility Survey-4. Journal of Public Health 2018;26(2):195-204.
7. Nethan S, Sinha D, Mehrotra R. Non-communicable disease risk factors and their trends in India. Asian Pac J Cancer Prev. 2017; 18(7): 2005–10.
8. 5-Year National NCDs prevention and control plan (2017-2021). The Policy and Strategy Section, Bureau of Non- Communicable Disease, Ministry of Public Health; 2017.
9. Srivanichakorn S. Data review for establishing service strategy in primary care units under the structure of the Ministry of Public Health. Health Systems Research Institute (HSRI); 2008.
10. Kut Chum Community Health Center, Kut Chum Hospital, Yasothon province; 2018.
11. Schottenfeld L, Petersen D, Peikes D, Ricciardi R, Burak H, McNellis R, et.al. Creating patient-centered team-based primary care. AHRQ Pub. No. 16-0002-EF. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality. March 2016.
12. Kankarn W, Thachai S. The effects of integrated care by multidisciplinary team with individual and family self- management to prevent chronic kidney disease in patients with diabetes and hypertension Research and Development Health System Journal 2019;12(2):594-603.
13. Komoltr C. Sample size calculation. Journal of Mental Health of Thailand 2012; 20(3): 192-8.
14. Mahatnirunkul S, Tuntipivatanakul W, Pumpisanchai W. Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL- BREF (26 items). J Ment Health Thai 1998; 5: 4-15.
15. Noncommunicable diseases country profiles 2018. Geneva: World Health Organization; 2018. Licence:
CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
16. Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O'Callaghan CA, Lasserson DS, et al. Global prevalence of
chronic kidney disease - a systematic review and
17. Seesawang J, Thongtaen P, Yodthong D. Effectiveness of self-management supportive program among hypertensive older people. Rama Nurs J 2014;20(2)179-92.
18. Kankarn W, Tongkrajai P, Kumphon B, Anutrakulchai S. The impact of self-management and case management on progression of chronic kidney disease in urban communities of Khon Kaen. J Med Assoc Thai 2019;102( 8):30.
19. Bumrungpun. The effect of self-management promotion program on the quality of life among Type II diabetes mellitus patients with acute complications in Prapokklao Hospital. Journal of Nursing Division 2011;38(1): 42-51.