การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 EXERCISE SELF MANAGEMENT AMONG PATIENTS WITH TYPE 2 DIABETES MELLITUS

ผู้แต่ง

  • จูณี คงทรัพย์
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศัก

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การออกกำลังกาย self-management, Type 2 diabetic patients, Exercises

บทคัดย่อ

The purpose of this descriptive study was to examine exercise self-management in patients with type 2 diabetes mellitus at the diabetes clinic, the Crown Prince Kranaun Hospital, Khon Kaen.  Twenty-five participants who met the eligibility criteria were recruited for this study.  Group 1 was participants (n=11) who had actively and continuously exercise while Group 2 was those (n=14) who did not exercise.  From January to February, 2012, in-depth interview regarding exercise self- management in patients with type 2 diabetes was performed.

The results revealed two major thoughts: cognition and development of exercise self- management.  Cognition influenced the development of exercise self- management and it was composed of 1) giving the meaning of diabetes; 2) giving the meaning of exercise; and 3) giving the meaning of life.  The development of exercise self- management was composed of 1) seeking and receiving information of diabetes and exercise; 2) developing appropriate skills for exercise self-management; 3) self-control; and 4) evaluation of the health outcome.  Group 2 (those not exercising) had cognition different from Group 1 (those actively and continuously exercising) despite similar major thoughts.  The cognition of the Group 2 was composed of 1) giving the meaning of diabetes and  2) giving the meaning of exercise.  In the group of those not exercising, there was no clear pattern of the exercise and those not exercising could not overcome barrier of the exercise.

Health care staff should realize and try to understand thoughts in individual diabetes patients.  Patients should be promoted the right thoughts and be able to develop their own appropriate skills for self-management of the exercise.

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่นจำนวน 25 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 11 คนและกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายจำนวน 14 คน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เก็บข้อมูล ระหว่างเดือน มกราคม- กุมภาพันธ์ 2555 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปผลการศึกษาดังนี้

ผลการศึกษาพบว่า ความคิดหลักที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่มีการออกกำลังกายต่อเนื่องมี 2 แนวคิดหลักคือ 1. กระบวนการคิดรู้ และ 2.  การพัฒนาทักษะการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย กระบวนการคิดรู้มีผลต่อการพัฒนาทักษะการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย โดยกระบวนการคิดรู้ ประกอบด้วย 1.1 การให้ความหมายของโรคเบาหวาน 1.2 การให้ความหมายการออกกำลังกาย 1.3 การให้ความหมายของการมีชีวิต 2. การพัฒนาเป็นทักษะวิธีการจัดการตนเอง ประกอบด้วย  4 แนวคิดย่อย ได้แก่ 1. การค้นหาหรือได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานและการออกกำลังกาย  2. การพัฒนาทักษะเฉพาะเพื่อการออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเอง 3. การควบคุมกำกับตนเอง และ 4. การประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย มีกระบวนการคิดรู้ที่แตกต่างจากกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำ  แต่มี 2 แนวคิดหลักเช่นกัน คือ 1. กระบวนการคิดรู้ และ 2.  การพัฒนาทักษะการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย โดยกระบวนการคิดรู้ ประกอบด้วย 1.1 การให้ความหมายของโรคเบาหวาน 1.2 การให้ความหมายการออกกำลังกาย ในส่วนของการพัฒนาเป็นทักษะวิธีการจัดการตนเองในกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประกอบด้วย 2 แนวคิดย่อย ได้แก่ 1.ไม่มีรูปแบบวิธีการออกกกำลังกายที่ชัดเจน และ 2.ไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆที่ขัดขวางการออกกำลังกายได้ ดังนั้นบุคลากรทางด้านสุขภาพจึงควรตระหนักและทำความเข้าใจในกระบวนการคิดรู้ของผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคน ควรมีการส่งเสริมกระบวนการคิดรู้ของผู้ป่วยให้ถูกต้องจนทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนสามารถพัฒนาทักษะวิธีการจัดการตนเองที่เหมาะสมกับตนเองได้

Downloads