ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ และภาวะโภชนาการของวัยรุ่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ()

ผู้แต่ง

  • สรัญญา เปล่งกระโทก
  • เสาวมาศ เถื่อนนาดี

คำสำคัญ:

ปัจจัยคัดสรร พลังอำนาจ การปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ ภาวะโภชนาการ วัยรุ่น selected factors, power in practicing, consumption behaviors for health, nutritional status, youth

บทคัดย่อ

This study aims to describe nutritional status and power in practices on healthy eating behaviors in youth, relationship between selected factors, power in practices on healthy eating behaviors in youth and examine predictor of practices on healthy eating behaviors in youth secondary school, Khon Kaen province two hundred twelve school children attending at school in Khon Kaen province were randomly selected. The study was conducted during June – July, 2010. Data was collected by using the questionnaires developed by the researcher, to assess belief in practices on healthy eating behaviors, perceived self – efficacy in practices on healthy eating behaviors, intentions to perform in practices on healthy eating behaviors, social support in practices on healthy eating behaviors and power in practices on healthy eating behaviors. Content validity for all questionnaires was established by a panel of experts. Cronbach’s alpha coefficients of the instruments were .56, .83, .84, .84 and .82 respectively. Analyzing data by calculating means, standard deviation, percentages, Pearson’s product moment correlation coefficient, and the stepwise multiple regression analysis.

The result are as following: 1) The youth in secondary school, Khon Kaen province was 50.94 % of the undernutrition.  2) The youth in secondary school, Khon Kaen province had power in practices on healthy eating behaviors was at the good level and mean score .97. 3) There were positivity statistical correlations between prior related belief, perceived self – efficacy, intention to perform in practices on healthy eating behaviors and social support in practices on healthy eating behaviors in youth in secondary school, Khon Kaen province and power in practices on healthy eating behaviors at the level of .01 (r = .31, .53, .57 and .53, respectively) 4) Prior related intention to perform, social support and perceived self – efficacy in practices on healthy eating behaviors were the variables that significantly predicted power in practices on healthy eating behaviors youth in secondary school, Khon Kaen province at the level of .05. The predicted power was 59.40 % of the variance. 5) Based on these findings, the researcher suggested that, to promote the youth power in practices on healthy eating behaviors, health care providers, family, teacher and your friend should pay more attention on enhancing their belief in practices on healthy eating behaviors and also supporting their significant persons of power in practices on healthy eating behaviors and good nutritional status.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ และพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ กับภาวะโภชนาการของวัยรุ่น และศึกษาปัจจัยร่วมทำนายพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่น โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นอายุ 12 – 15 ปี จำนวน 212 คน ที่ได้จากการสุ่มเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน –  กรกฎาคม 2553 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความเชื่อในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ แบบสอบถามความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ และแบบสอบถามพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่น ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82, .83, .84, .84 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) วัยรุ่นตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีภาวะโภชนาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ เท่ากับ ร้อยละ 50.94 2) วัยรุ่นตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ .97 3) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเชื่อในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ ความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ และปัจจัยภายนอก คือ แรงสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่นตอนต้น โรงเรียนมัธยม เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ต่างก็มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.31, 0.53, 0.57 และ 0.53 ตามลำดับ) 4) ความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่น โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 59.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า การส่งเสริมให้วัยรุ่นมีพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ และให้ครอบครัว อาจารย์ และเพื่อนกระตุ้นและส่งเสริมให้วัยรุ่นมีพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพ เพื่อภาวะโภชนาการที่ดี

Downloads