ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี ที่มีภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด

ผู้แต่ง

  • ปานจิต โพธิ์ทอง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วราภรณ์ สมวงษ์ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน
  • เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน
  • กองแก้ว ย้วนบุญหลิม
  • ดวงรัตน์ มีอารีย์ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออกเดงกี, ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever; DHF) พบภาวะเลือดออกผิดปกติปริมาณมาก (bleeding abnormality) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด (disseminated intravascular coagulation; DIC) เกิดจากภาวะที่ระบบการแข็งตัวของเลือด (blood coagulation system) และระบบการสลายลิ่มเลือด (fibrinolytic system) ทำงานไม่สมดุลกัน โดยระดับความรุนแรงของภาวะเลือดออกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเซลล์เอนโดทีเลียม (endothelium) ที่ถูกทำลาย จำนวนเกล็ดเลือด (platelet) ที่ลดลงและปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (coagulation factor) ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดออกรุนแรงที่พบ ได้แก่ มีภาวะตับวาย, ไตวายเฉียบพลัน และนอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

การประเมินอาการและการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการได้แก่ การวัดระดับฮีมาโทคริต (hematocrit), จำนวนเม็ดเลือดขาว, จำนวนเกล็ดเลือด (platelet), ระดับเอนไซม์ในตับ (Liver function test) ประกอบด้วย alanine aminotransferase (AST), aspartate aminotransferase (ALT), การตรวจวัดค่าการแข็งตัวของเลือดประกอบด้วย ค่า prothrombin time (PT), ค่า international normalized ration (INR), ค่า activated partial thromboplastin time (APTT), ค่า D-dimer, ระดับ fibrinogen ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการรักษาผู้ป่วย ในการเตรียมเลือดและส่วนประกอบของเลือดไม่ควรให้เพื่อป้องกันภาวะเลือดออก การให้สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด ร่วมกับการรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบร่วม จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้

References

1.Kanlayanaruj S, Wangraweewong M, Watcharaseri W, editors. Guidelines for Diagnosis and treatment of Dengue Fever Version HM the Queen's 80th Birthday Anniversary. Queen Sirikit National Institute of Child Health. 1st ed. The War Veterans Organization of Thailand: Bankok; 2013. (in Thai)
2.World Health Organization. Dengue hemorrhagic fever: diagnosis, treatment and control. 2nd ed. Geneva: WHO; 1997.
3. Bureau of Vector Borne Diseases (TH); Department of Disease Control (TH); Ministry of Public Health (TH). Dengue Infection and Dengue Fever Disease Academic Manual for Medical and Public health. 1st ed. AKSORN GRPHIC AND DESIGN PUBLISHING LIMITED PARTNERSHIP: Bangkok; 2013. (in Thai)
4. Laoprasopwattana K, Binsaai J, Pruekprasert P, Geater A. Prothrombin time prolongation was the most important indicator of severe bleeding in children with severe dengue viral infection. J Trop Pediatr. 2017;63:314-20.
5. Ong A, Sandar M, Chen MI, Sin LY. Fatal dengue hemorrhagic fever in adults during a dengue epidemic in Singapore.Int J Infect Dis 2007;11:263-7.
6. Setrkraising K, Bongsebandlhu-phubhakdi C, Voraphani N, Pancharon C, Thisyakorn U, Chule T. D-dimer as an indicator of dengue severity. Asian Biomed 2007;1:53-7.
7. Srichaikul T, Punyagupta S, Nitiyanant P, Alkarawong K. Disseminated intravascular coagulation in adult Dengue haemorrhagic fever. Report of three cases. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1975;6:106-14.
8. Srichaikul T. Disseminated Intravascular Coagulatiuon. J Hematol Transfus Med 1998;8:303-7.
9. Suwanwiboon B. Disseminated Intravascular Coagulatiuon (DIC): Where are we now? J Hematol Transfus Med 2010;20:7-10. (in Thai)
10. Srichaikul T, Nimmannity S. Haematology in dengue and dengue haemorrhagic fever. Baillieres Best Pract Res Clin Haematol 2000;13:261-76.
11. World health Organization. National Guidelines for Clinical Management of Dengue Fever. 1st ed. World health Organization: India; 2015.
12. Kanlayanaruj S, Wangraweewong M, Watcharaseri W, editors. Guidelines for treatment of Dengue Fever .Queen Sirikit National Institute of Child Health.1st ed.Ministry of Public Health : Bangkok; 2016. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28