ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 (Effects of Self-management program on health behavior, body weight, body mass index and waist circumference of persons at risk of type2 diabetes)
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 Self-management program, health behavior, body weight, body mass index, waist circumference, Diabetes risk groupsบทคัดย่อ
This prospective intervention study aimed to investigate the effects of the Self-management program on health behavior, weight, body mass index and waist circumference of the persons at risk of type 2 diabetes. The 25 persons with risk to diabetes were purposively recruited and participated the 12-week Self -management program. The program consisted of 4 activities including 1) Assessment and Planning, 2) Training for self-management, 3) Self-management in diet and exercise modification practices which consisted self-monitoring, self-evaluation and self-reinforcement according to Kanfer and Guelick-Buys’ Self-management model, and 4) Evaluation of the program. Health behavior, body weight, body mass index and waist circumference were collected before and 1 year after the program. Descriptive statistics and paired t-test were used in data analysis. The results showed that after the program, health behavior was significantly better, whereas body weight, body mass index and waist circumference significantly decreased (p <.000).
การวิจัยเชิงทดลองแบบติดตามไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานที่สมัครใจและเข้าร่วมโปรแกรมครบทุกครั้งเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 25 ราย โดยโปรแกรมการจัดการตนเองประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรม 4 ครั้ง ได้แก่ 1) การประเมินและการวางแผน 2) การเตรียมความพร้อมในการจัดการตนเอง 3) การฝึกปฏิบัติการจัดการตนเองตามแนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และแกลิค-บายส์ที่ประกอบด้วยการติดตามตนเอง การประเมินตนเองและการเสริมแรงตนเองเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและการออกกำลังกาย และ 4) การประเมินผลการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวก่อนและหลังเข้าโปรแกรมเป็นระยะเวลา 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทีคู่ ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม ส่วนน้ำหนัก ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.000)