การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ บางแสง โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • สมควร พิรุณทอง โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • อุดมรัตน์ นิยมนา โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • นงเยาว์ ถามูลเรศ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • อภิญญา สัตย์ธรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยภูมิ

จุฑารัตน์ บางแสง, ป.พ.ส.*

สมควร    พิรุณทอง, ป.พ.ส.*

อภิญญา สัตย์ธรรม, พย.ม. (การพยาบาลครอบครัว)*

อุดมรัตน์ นิยมนา, พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)*

นงเยาว์ ถามูลเรศ, พย.บ.*

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต  โรงพยาบาลชัยภูมิ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 – มีนาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 30 ราย 2) พยาบาลวิชาชีพประจำห้องผู้ป่วยหนัก จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต ที่สร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) การหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จร้อยละ 98.7, 2) การ Re-intubation ในผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 6, 3) อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 3.39 : 1,000 Vent. Day, 4) ระยะเวลาเฉลี่ยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 2 ชั่วโมง, 5) จำนวนวันเฉลี่ยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 18.50 วัน, 6) พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 95 และความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 95.4

References

1. Wichitra K, Arunee H. Airway and ventilation management. Critical care nursing: A holistic approach. 4th ed. Bangkok: Sahaprachapanich; 2010.
2. Chen YJ, Jacobs WJ, Quan SF, Figueredo AJ, Davis AH. Psychophysiological determinants of repeated ventilator weaning failure: An explanatory model. American Journal of Critical Care 2011, 24(4), 292-302.
3. Norawee C. Practice mechanical ventilator: Complications of mechanical ventilator and their prevention. Cite in Akkarin Bhumipichet and Chairat Pempikul (Editor). Critical care in everyday practice. Bangkok: Beyond enterprise; 2007.
4. Chaiyaphum hospital. Statistics report of Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital. Chaiyaphum: Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital; 2014.
5. . Chaiyaphum hospital. Statistics report of Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital. Chaiyaphum: Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital; 2012.
6. Chaiyaphum hospital. Statistics report of Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital. Chaiyaphum: Intensive Care Unit Department Chaiyaphum Hospital; 2013.
7. Werapol B. PDCA cycle. Bangkok: Innographics company; 2000.
8. Yupha W, Orasa P, Supreeda M. Clinical Nursing Practice Guideline for Successful Weaning from Mechanical Ventilation. Ramathibodi Nursing Journal 2008, 14(3), 347-365.
9. Jitsiri Tantichatkul and Wanida Kenthongdee. The Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Weaning from Mechanical Ventilation: an Evidence Based Practice. Journal of Nursing Division 2012, 40(3), 56-69.
10. Samang Thiankaew, Lakana Sornsurin, and Sunanya Phromtuang. Efficacy of Developed Nursing Care Modality for Mechanically Ventilated Patient in Intensive Care Unit. MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS 2015, 31(1), 9-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29