การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, เบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย (ECCM) ผู้ให้ข้อมูลหลักและผู้เข้าร่วมการวิจัยประกอบไปด้วย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแล ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ อสม. และผู้นำชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก สนธนากลุ่ม และการสังเกต การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1)ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน 2)วางแผนการปฏิบัติ 3)ดำเนินการปฏิบัติตามแผน การสะท้อน และปรับปรุงการปฏิบัติ และ 4)ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยดำเนินการระหว่างเดือน สิงหาคม 2562 – กุมภาพันธ์ 2563
ผลการวิจัยในระยะศึกษาสถานการณ์พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ส่วนใหญ่การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานไม่ดีพอส่งผลให้พฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาไม่เหมาะสม ผู้ดูแลสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานน้อย อสม.มีการรับรู้เรื่องโรคและความมั่นใจไม่เพียงพอในการให้คำแนะนำผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการบริการสุขภาพ มีการเข้าถึงบริการล่าช้า การให้ความรู้ไม่ครอบคลุม ฐานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานไม่เป็นปัจจุบัน ขาดแนวทางในการติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้นำชุมชนยังไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ระยะพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการระดมสมอง วางแผนและดำเนินการพัฒนา 4 องค์ประกอบดังนี้ คือ 1) พัฒนาทักษะส่วนบุคคลโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ดูแล 2) พัฒนาระบบบริการโดยปรับการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น กำหนดบทบาทของเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนและให้อสม.เข้ามามีส่วนร่วมในคลินิกเบาหวาน เจ้าหน้าที่มีเวลาให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานได้ครอบคลุม 3) พัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยให้เป็นปัจจุบันและเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลไปยังชุมชน 4) การสนับสนุนการตัดสินใจโดยจัดทำแนวทางในการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่และ อสม. พัฒนาศักยภาพของ อสม.ในการให้ความรู้และการติดตามเยี่ยมบ้าน การประเมินผล พบว่า ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้นส่งผลให้ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลง 21 ราย ผู้ดูแลและอสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้นมีความมั่นใจการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มีฐานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นปัจจุบัน มีแนวทางในการติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
References
2. Aekplakorn W. Report on 5th Thai National Health Examination Survey 2013. Nonthabury: The graphic system Ltd; 2016.
3. Division of Non communicable disease. Information-statistic non-communicable-disease-data Database on the Internet. 2018 cited 2018 march 17. Availiable from: http//thaincd.com
4. Barr et al. The Expanded Chronic Care Model: an Integration of Concepts and Strategies from Popolation Health Promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterrly 2003; 7: 73-82.
5. Wagner E. H. et al. Improving Chronic Illness Care:Translating Evidence Into Action. Health Affairs 2001;20:64-78.
6. Kemmis S, Mc taggart R. Participatory Action Research. In N.K. Denzin & Y.S. Lincoln (Eds.), Strategies of Qualitative InQuiry (3ed). Thousand Oaks, CA: Sage; 2007: 271-326.
7. Diabetes Association of Thailand. Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. Bangkok: Romyen media.
8. Wayobut R. Developing Care for Diabetes type 2 Patient through Family and Community Participation at Nong doon Village, Muang District, Mahasarakham Province [Thesis]. Khon Kean: Khon Kean University; 2014.
9. Meerat W. Quality Improvement for family management support with patient diabetes mellitus at Community Hospita. [Thesis]. Khon Kean: Khon Kean University; 2013.
10. Srivanitchakan S. Health service system for patient with chronic illness. In: Piti tetsadekul, Payom wongpuvaluk, Titima duangngen, Usnee vanakamanee, Orrawan saelim, editors. Practical issue in chronic disease. Bangkok: sahamitpattana printing; 2016.
11. Panpoklang S. Development of Health Services for Patients with Diabetes Mellitus at A Primary Care Unit, Muang District, Khon Kean Province[Thesis]. Khon Kean: Khon Kean University; 2012.
12. Ontha R. The Development of a Home Visi Model based on Participation between Professional Nurse and Village Health Volunteers for Type II Diabetes. Journal of Nursing and Health Care 20; 34(4): 19-27.