ชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปัญญาธร มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ศรินรัตน์ นิลภูผาทวีโชติ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ชีวิตวิถีใหม่, บุคลากรด้านสุขภาพ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจำนวน193 คน เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญและหาความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาปริญญาตรี อายุเฉลี่ย 38.5 ปี เป็นบุคลากรด้านการพยาบาลมากที่สุดร้อยละ 52.8 ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีร้อยละ 47.7 มีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยร้อยละ 67.9 การรับรู้สถานการณ์และความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, SD=.93) ร้อยละ 65.80 โดยข้อที่มีระดับการรับรู้ระดับมากที่สุด 3 ข้อ ได้แก่ โควิด-19 ติดต่อได้ง่ายทางการหายใจและสัมผัสเชื้อโรค ( =4.62,SD=.67) ผู้สูงอายุ/มีโรคประจำตัวเจ็บป่วยจากโควิด-19 รุนแรงกว่าผู้ป่วยอื่น ( =4.59, SD=.75) และโควิด-19 อันตรายและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิต ( =4.57, SD=.68) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีร้อยละ 51.81 ชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรด้านสุขภาพให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้นทั้งด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยเหมือนการสวมเสื้อผ้า รับประทานอาหารสุกใหม่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค ลดการปฏิสัมพันธ์ เน้นทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการใช้ชีวิต และดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้อากาศถ่ายเทสะดวก ด้านการทำงานมีการปฏิบัติในการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ทั้งในเรื่องการ
ล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคมและการป้องกันการนำโรคสู่บ้าน

References

1.Department of disease control. Coronavirus disease2019. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf
2.World health organization. What is need now to protect health workers. WHO COVID-19 briefing. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.hfocus.org/content/2020/04/18949
3.Ministry of Public health. COVID-19 in healthcare providers. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.hfocus.org/content/2020/04/19158
4.Department of disease control. Operating plan for Coronavirus disease2019. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout005_
5.Piyawan limpanyalert. COVID-19 in healthcare providers. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.hfocus.org/content/2020/04/19158
6.World health organization Thailand. Coronavirus disease 2019. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-28-
7.COVID-19 data center. New normal of well being.[database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from http://www.wearecp.com/new-normal-190563/
8.The office of disease prevention and control Udon thani. COVID-19 UPDATE .[database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://r8way.moph.go.th/r8way/covid-19
9. Bloom, B.. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston,1971.
10. Qian Liu and others. The experiences of health-care providers during the COVID-19 crisis in China: a qualitative study.[database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.thelancet.com/journals/langlo/article/PIIS2214-109X(20)30204-7/fulltext
11.Chulalak Kaesuk. Predictors of maternal behavior in prevention of acute respiratory infection in pre school children. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 24(4) 2016; 54-64.
12.Jaruwan Laemthaisong , Chanandchidadussadee Toonsiri andPornnapa Homsin. Factor influencing on preventive behaviors of respiratory tract infection among caregivers of preschool aged children in child care center, Bangkok Metropolitan.Thesis for nurse practitioner. Bhurapa University 2018. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.google.co.th/search?sxsrf=ALeKk01LNB7iidsvcvum_A-fKL2ZplBrrA%
13.Ratchata Kammanee. Self care behavior of health personel in Sukhirin district, Narathiwat Province.
Taksin University. 2012.
14.Kiecha Prem and others.The effect of control strategies to reduce social mixing on outcomes of the
COVID-19 epidemic in Wuhan, China: a modelling study. [database on the internet].2020 [cited 2020 July21].Available from https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(20)30073-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29