ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดา ต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษา ด้วยการส่องไฟและระดับบิลิรูบินในเลือดของทารก

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ กาฬสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น
  • พูลสุข ศิริพูล
  • เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสรมการรับรู้ความสามารถ ทารกเกิดก่อนกำหนด ภาวะตัวเหลือง พฤติกรรมการดูแลทารกเกิด ก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ ระดับบิลิรูบิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาต่อการรับรู้ความสามารถของตนและพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ต่อระดับบิลิรูบินในเลือดของทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประกอบด้วยกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติ และได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 3 วัน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟสูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังการทดลองทารกกลุ่มทดลองมีระดับบิลิรูบินน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

References
1. Vijitsukon K. Nursing of newborns with hyperbilirubinemia. Nothaburi: Sukhothai Thammathirat University; 2007.
2. Hansen T. WR. Neonatal Jaundice [Internet]. Norway: Medscape; 2017 [cited 2018 Jun 19]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/974786-overview.
3. Scrafford CG, Mullany LC, Kat J, Khatry SK., LeClerq SC, Darmstadt GL, et al. Incidence of and risk factors for neonatal jaundice among newborns in southern Nepal [Electronic version]. Tropical Medicine & International Health 2013; 18(11), 1317-1328.
4. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. In-patient statistics. Nakhon Ratchasima: Hospital; 2016.
5. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. In-patient statistics. Nakhon Ratchasima: Hospital; 2017.
6. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. In-patient statistics. Nakhon Ratchasima: Hospital; 2018.
7. Punthmatharith B. Nursing car for acute and chronically in newborn. Songkhla: Chan Mueang Printing; 2012.
8. Chanvitan P. Neonatal jaundice. In: Vejvanichsanong P, Anantasayree W. editors. General Pediatrics. Songkhla: Chan Mueang Printing; 2007. p. 447-477.
9. Janejindamai W. Update Guideline phototherapy in neonatal jaundice. In: Horpaopan S, Thaithumyanon P, Jirapaet K. editors. Neonatology 2009. Bangkok: Thana Place; 2009. p. 149-174.
10. American Academy of Pediatrics. Management of hyperbirirubin in the newborn infant
35 or more weeks of gestation. Pediatrics. 114(4); 2004. p. 297-316.
11. Dalili H, Sheikhi S, Sharia M, Haghnazarian E. Effects of baby massage on neonatal jaundice in healthy Iranian infants: A pilot study [Electronic version]. Infant Behavior & Development 2016; 42(1), 22-26.
12. Maneenil G. neonatal jaundice. In: Vejvanichsanong P, Anantasayree W. editors. Pediatrics 3. Bangkok: Sahamitpathana Printing; 2016. p. 103-104.
13. Siriboonpipathana P. Pediatric Nursing. 5th ed. Bangkok: Yutharint Printing; 2007.
14. Bandura A. Self-efficacy in changing societies. Australia: Cambridge University; 1997.
15. Jindapan B. Behavior on academic Administration of Administration in Small Scbools of academic
Network Developing centre at Nongsanom Supdistrict, Wanonniwat District Under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3[dissertation]. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University; 2008.
16. Salaprakhon C. Effect of knowledge development and caring behaviors using Bandura’s theory in mothers having newborn with jaundice receiving phototherapy[dissertation]. Khon Kaen:
Khon Kaen University; 2012.
17. Wongniyom N. Effect of the coaching program on readiness mothers, And on health status and behaviors of premature babies[dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2001.
18. Wongsa A. Effects of perceived self-efficacy program regarding preterm care of mothers on perceived self-efficacy and maternal role in caring of preterm babies[dissertation]. Khon Kaen:
Khon Kaen University; 2011.
19. Mornthawee S. The Effect of Coaching program on maternal behavior to prevent
breast feeding jaundice in full term neonate[dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28