สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัย ของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุภิดา สุวรรณพันธ์
  • มะลิวรรณ อังคณิตย์
  • อาริยา สอนบุญ

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาล, การพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด, การรับรู้, ความปลอดภัยของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด โดยเก็บข้อมูลในพยาบาลห้องผ่าตัดทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 63 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กร สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด และการปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ .85, .94 และ .86 ตามลำดับ และความเที่ยงของแบบสอบถามได้ .81, .87 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยสัมประสิทธิ์ถดถอย ผลการวิจัย พบว่า

  1. บรรยากาศองค์กรโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (=3.84, S.D. =.68) และบรรยากาศองค์กรรายด้านอยู่ในระดับสูงเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการยกย่อง ชมเชย และการให้รางวัลที่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (=4.21, S.D. =.62) การปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (=3.65, S.D. =.58) ซึ่งด้านการบาดเจ็บเนื้อเยื่อจากเครื่องจี้ไฟฟ้า ด้านการป้องกันอันตรายจากสาเหตุอื่น ด้านการป้องกันการบาดเจ็บเนื้อเยื่อจากการจัดท่า ด้านการป้องกันการบาดเจ็บเนื้อเยื่อจากรังสีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=3.49, S.D. =.63)
  2. จำนวนการปฏิบัติงานเวรดึกมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดในระดับปานกลาง (r=-.507) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสามารถทำนายได้ว่ายิ่งมีการปฏิบัติงานเวรดึกมากยิ่งทำให้การปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดน้อยลง (r=-.457) สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดในระดับมาก (r=.605) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสามารถทำนายการปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยทำนายได้มากถึงร้อยละ 62 (r=.623)

ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารการพยาบาลควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการเสริมพลังบรรยากาศองค์กรด้านการยกย่อง ชมเชยและให้รางวัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลต่อเนื่อง และควรกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด อาทิ การกำหนดจำนวนการปฏิบัติงานเวรดึกไม่เกิน 5 เวรต่อเดือน ระบบการตรวจสอบการขึ้นปฏิบัติงานเวรบ่ายดึกและล่วงเวลาให้เป็นไปตามมาตรฐานรวมทั้งจัดสรรอัตรากำลังที่เหมาะสมให้สอดคล้องการส่งเสริมการปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้มารับบริการพยาบาลต่อไป

References

1. Scheriff, K., Gunderson, D., Intelisano, A. Implementation of an OR efficiency program. AORN J. 2008
Nov;88(5):775-89.
2. รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อน
และหลังผ่าตัด. Rama Nurs 2016, 22 (1); 9-20.
3. รุ่งทิวา ชอบชื่น. Nursing Care in Pressure. ศรีนคริทรเวชสาร, 2556 28, 41-46.
4. ศิริพร พุทธรังสี และสุนิสา สีผม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในประเทศไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 2560 18(1), 94-103.
5. สะแกวัลย์ ผดุงศักดิ์. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 2552.
6. ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย, และวีระศักดิ์ จงสุวิวัฒณ์วงศ์. ภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลในประเทศไทย (โครงการนำร่อง).นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2546.
7. ทิพวรรณ ไตรติลานันท์. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดออร์โธปิดิกส์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยครั้งที่2 (หน้า 29-49). กรุงเทพมหานคร:NP Press Limited Partnership. 2550.
8. วีณา จีระแพทย์. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย. ในวีณา จีระแพทย์ และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. (บรรณาธิการ), การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย (หน้า 1-22). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์. 2555.
9. สุทธิมาภรณ์ หมัดสาลี. การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้าห้องผ่าตัดพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยและอันตรายจากการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 2553.
10. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. HA UPDATE 2017. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). 2560.
11. วีณา จีระแพทย์ และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย แนวคิดกระบวนการแนวปฏิบัติทางคลินิก. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอีเล็ฟแว่นคัลเลอร์ส. 2550.
12. พร บุญมี และเฉลิมพรรณ์ เมฆลอย. วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 2554 4(3): 48-62.
13. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Patients Safety Goals:SIMPLE. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. 2551.
14. สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด.กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร. 2554.
15. สมจิต หนุเจริญกุล. กระบวนการพยาบาล. ในสุปาณี เสนาดิสัย วรรณภา, และประไพ พานิช (บรรณาธิการ), การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ (หน้า 78-100). กรุงเทพมหานคร:โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. 2551.
16. วีกุญญา ลือเลื่อง และวิภาพร วรหาญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Graduate Research Conference: GRC, 2012, Khon Kean University.
17. อารีย์ แก้วทวี และจรรยา วงศ์กิตติถาวร. วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรห้องโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.สงขลานครินทร์เวชสาร 2553, 28(3):117-125.
18. ทิพย์ภาพร ประยูรสวัสดิ์เดช. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2553.
19. สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2551.
20. วิไลภรณ์ พุทธรักษา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561.
21. Association Operating Room Nurse [AORN]. Perioperative standards, recommended practices, and guideline. Denver: Association of Operating Room Nurse. 2006.
22. พันทิพย์ จอมศรี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, อวยพร ตัณมุขยกุล และ วิจิตร ศรีสุพรรณ. การรับรู้เกี่ยวกับหลักการพยาบาลของพยาบาลในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล, 2553 25(1):27-36.
23. วาสนา ดาวมณี. การปฏิบัติงานของพยาบาลผ่าตัดตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. 2542.
24. สุภาพ อารีเอื้อ. การพยาบาลในห้องผ่าตัด:จากการส่งเครื่องมือสู่การพยาบาลแบบองค์รวม. Rama Nurs J, 1998 4 (2):
204-212.
25. Association of Operating Room Nurses: AORN. Sixteenth National Congress “The World of O.R. Nursing” Convention and Exposition Center Cincinnati, Ohio February 24–27. https://doi.org/10.1016/S0001-2092(08)70994-3. 1969.
26. สิริรักษ์ เจริญศรีเมือง. ปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2551.
27. รุ่งนภา เปล่งอารมณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2555.
28. มาลี คำผง. การพัฒนาพยาบาลสู่คุณภาพการบริการในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2557 1 (1):77-84.
29. มยุเรศ ลีลาวรวุฒิ และฮอเดยะ บลียะลา. คุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะผ่าตัดตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่นอนพักในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 2549 24(3); 223-229.
30. Sngounsiritham U. Management for Creating Safety Culture in Nursing Service Nursing. Journal 2011; 38(3): 168-77.
31. Sweeney, P. The effects of information technology on perioperative nursing. AORN J,2010 92(5): 528-40.
32. The Heathcare Accreditation Institute. Patient safety goal: SIMPLE, Bangkok: Paramartha. (in Thai). 2008.
33. Alfredsdottir, H., & Bjornsdottir, K. Nursing and patient safety in the operating room. Journal of Advanced Nursing, 2008 61(1), 29-37.
34. Aiza, A.M, Rico, F., Raquitico, U., Clores, C.A. Experiences of Operating Room Nurses in Promoting Quality Perioperative Patient Care.Clinical Practice.p-ISSN: 2326-1463 e-ISSN: 2326-1471., 2017 26(2): 26-32. doi:10.5923/j.cp.20170602.02.
35. Jones, A. PATIENT SAFETY AND GAPS MANAGEMENT BY REGISTERED NURSES. Submitted in fulfilment of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy Deak in University September. 2013.
36. Eldeeb, G.A.A, Ghoneim, M.A. & Eldesouky, K.E. Perception of Patient Safety Among Nurses at Teaching Hospital. American Journal of Nursing Science, 2016 5(4):122-128.
37. Andri, L.P. & Soewondo, P. Nurses’ Perception of Patient Safety Culture in the Hospital Accreditation Era: A Literature Review. Conference Paper in the 2nd International Conference on Hospital Administration: the 2nd ICHA, Volume 2018, DOI: 10.18502/kls.v4i9.3558.
38. สภาการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลและผดุงครรภ์พ.ศ. 2544.
39. ศิริพร พุทธรังษี. Issue & trend of perioperative nursing. ใน เอกสารประกอบคำบรรยาย งานประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2559 (หน้า 12-18). กรุงเทพฯ: สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. 2559.
40. Najjar, S., Nafouri, N., Vanhaecht K. & Euwema, M. The relationship between patient safety culture and adverse events: A study in palestinian hospitals. Safety in Health, 2015 1(16), 1-9.
41. Joint Commission International. Joint commission international accreditation standard for primary care center. Retrieved June 19, 2016 from https:// www.jointcommissioninternational.org/ assets/3/7/Primary-Care-StandardsOnly.pdf. 2008.
42. บุศรินทร์ จงใจสุรธรรม, ขนิษฐา นาคะ และวิภา แซ่เซี้ย. การปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 2560 37(2):27-40.
43. Westhead, C. Perioperative nursing managemrnt of the elderly patient, Canadian Operating Room Nursing Journal, 2007 25(2), 34-35, 37-41.
44. Thongthip, S., & Chalongsuk, R. Professional nurse’ knowledge and practice for patient safety goals, (SIMPLE Indicators) at pranangklao hospital, Nonthaburi province. Thai Bullet in of Pharmaceutical Science, 2014 9(2), 18-31.
45. ศิวาพร แก้วสมสี, นันทิยา วัฒายุ และ นันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 29(3): 101-112.
46. สายสมร เฉลยกิตติ, พรนภา คำพราว, และสมพิศ พรหมเดช. ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาล: บทความวิชาการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557, 15(2); 66-69.
47. Gutierres, L.S., Santos, J.L.G.D., Peiter, C.C., Menegon, F.H.A., Sebold, L.F. & Erdmann, A.L. Good practices for patient safety in the operating room: nurses' recommendations. Rev Bras Enferm, 2018 71(6):2775-2782.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30