แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยชุมชนตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ลมัย ชุมแวงวาปี
  • ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพเอช ไอ เอ ชุมชนโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และวิเคราะห์แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ตามกลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาและประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment: CHIA) เป็นกรอบกระบวนการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการศึกษาสถานการณ์ของโรคในชุมชน (2) ขั้นการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยและ (3) ขั้นการตัดสินใจผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ดูแล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และผู้ให้บริการสุขภาพ

     ผลการศึกษา พบว่าโรคเบาหวานส่งผลให้ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการควบคุมอาหารการพักผ่อน กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุต้องพิงพาสมาชิกครอบครัวด้านอาหาร การรับประทานยา/การฉีดยา และการไปพบแพทย์ตามนัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จากปัจจัยด้านวิถีชีวิตที่เร่งรีบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ไม่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย และขาดความตระหนักในการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน ได้แก่ การพัฒนาทักษะการจัดการอาหารการสนับสนุนการออกกำลังกาย และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพด้วยการหนุนเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในบ้านและในชุมชนรวมถึงการริเริ่มร้านอาหารสุขภาพในชุมชน

References

1. International Diabetes Federation [IDF]. IDF DIABETES ATLAS.7th. Karakas Print. 2017.
2. Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Health Data Center. (2017). [database on the Internet]. 2017 [cited 2017 Dec 20]. Available from:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
3. Division of Non-Communication Disease, Department of Disease Control.Ministry of Public Health.Non-communication Disease Data.[database on the Internet]. 2017 [cited 2017 Dec 20]. Available from:http://www.thaincd.com/2016/mission3
4. Division of Non-Communication Disease, Department of Disease Control. Ministry of Public Health. Non-communication Disease Data. [database on the Internet]. 2019 [cited 2019 Dec 19]. Available from:http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020
5. Health data center program; HDC, KhonKaen Province, 2017.
6. Health data center program; HDC, Nampong Hospital KhonKaen Province, 2017.
7. World Health Organization [WHO]. The Ottawa Charter for Health Promotion. Geneva, Switzerland: WHO, 1986.
8. PengkamS. HIA development in Thai Society, Community Health Impact Assessment: CHIA. Bangkok: National Health Commission Office; 2012.
9. Piyabanditkul L. Environment Development for Health Promotion in Primary, Secondary and Tertiary Health Care Unitand in Community. Nonthaburi: Mata Printing; 2017: 187-221.
10. Sukmak P. Application Guidelines of CHIA for local administrative organization. Meeting Community Health Impact Assessment. Prince of Songkla University; 2017.
11. Tassaniyom N., &TassaniyomS. Health Promotion: Empowerment. KhonKaen: Klang Nana Withaya;2012.
12. Wayobut R., & Sutra P.Development of Practice Guideline for TypeDiabetes Patients through Family and Community Participation at NongDoon Village, Muang District, Mahasarakham Province. Journal of Nursing Division 2014; 41(2): 72-83.
13. Yodprong S., &Piyabanditkul L. Establishing diabetes mellitus school by community participation. Journal of Nursing and Health Care 2018; 36(2): 185-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30