ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขมรฝั่งใต้ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ้อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล
  • ธนิกาญจน์ จ้อยเสือร้าย
  • สิริกาญจน์ วัฒน์ศรีธานัง
  • อภิสรา โสมทัศน์

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพ, วัยแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยแรงงาน ตำบลโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก  กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวัยทำงาน  (อายุ 20-59 ปี) ตำบลโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ที่ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 50-59 ปี มีสุขภาพกาย อยู่ในภาวะอ้วน (BMI เฉลี่ย = 24.42 S.D. = 4.73) ภาวะสุขภาพด้านจิตใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย = 2.12 S.D.= 0.67) และพฤติกรรมสุขภาพ(ค่าเฉลี่ย = 2.94 S.D.= 0.34) อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 3.16 S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์ของ ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยแรงงาน พบว่าภาวะสุขภาพในด้านการรับรู้ข่าวสารทางด้านสุขภาพ และ พฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยแรงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value <0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับกลุ่มวัยแรงงานเป็นอย่างยิ่ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29