การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • สิรินทร วิบูลชัย
  • วนิดา เคนทองดี
  • พรพิมล คำประเสริฐ

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ ติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยศัลยกรรม

บทคัดย่อ

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย

สิรินทร วิบูลชัย พยม.* พรพิมล คำประเสริฐ พยบ.**

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย ด้วยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย1 และ 2 ศัลยกรรมหญิง และศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ 27 คน และผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 60 คน แบ่งเป็นศึกษาก่อนใช้แนวปฏิบัติ ฯ 30 คน และใช้แนวปฏิบัติ ฯ 30 คน ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงมกราคม พ.ศ.2563 ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และ ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความจำเป็นในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 3) แบบติดตามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ฯ ที่พัฒนาขึ้นและผลลัพธ์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ ฯ ภายหลังการทดลองใช้ กลุ่มที่ 2 เครื่องมือเชิงคุณภาพ 1) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มแบบ focus group 3) แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือเชิงปริมาณได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 และ .84 ผลการวิจัย 1) ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ (situation analysis) จากการประชุมกลุ่มและสอบถามความคิดเห็นของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยศัลยกรรม 4 แห่ง พบว่า ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด การปฏิบัติการพยาบาลขึ้นกับความรู้และประสบการณ์ของพยาบาล คือ ไม่มีข้อกำหนดในการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2) ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด พบว่าประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ1ชั่วโมงแรก ระยะต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงแรก และระยะต่อเนื่องหลัง 6 ชั่วโมงแรก 3) ผลการประเมินประสิทธิผลแนวปฏิบัติ ฯ พบว่า การบรรลุ Early Goal Directed Therapy (EGDT) เพิ่มจากร้อยละ 44.00 เป็น 80.00 ค่าเฉลี่ยของความรุนแรงของการเจ็บป่วย (Search Out Severity: SOS) ในชั่วโมงที่ 1, 6, 24 และ 48 ลดลง ค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดง (Mean Arterial Pressure: MAP) ในชั่วโมงที่ 6 เพิ่มจากร้อยละ 42.00 เป็น 100.00 อัตราตายลดลงจากร้อยละ 6.6 เป็น 0.00 พยาบาลมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ ฯ ในทางที่ดีเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าแนวปฏิบัติ ฯ นี้ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ สามารถเป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในกลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลยได้

References

1. พรทิพย์ แสงสง่า และนงนุช เคี่ยมการ. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์ “Sepsis bundle” ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29(3): 403-411.
2.Negret-Delgado MP, Puentes-Corredor S, Oliveros H. Scientific and Technological Research: Adherence to the guidelines for the management of severe sepsis and septic shock in patients over 65 years of age admitted to the ICU. Colombian Journal Of Anesthesiology 2016; 44(4): 299-304.
3. Fleischmann C, Scherag A, Adhikari NK, et al. Assessment of Global incidence and Mortality of Hospital traeted Sepsis. Current Estimates and Limitations. Am J Respir Crit Care Med 2016; 193(3): 259-72.
4.กิตติศักดิ์ เชื้อสกุลวนิช. การเสียชีวิตจากภาวะ sepsis ในผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลสุรินทร์. J Med Assoc Thai. 2007; 90(10): 2039- 2046.
5. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางสถิติอัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562]. จาก http: //hdcservice. Moph. Go. Th/hdc/reports/
6.สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562]. จาก http://www.pbro.moph.go.th/wp-content/uploads/2017/12/เล่มแผนตรวจราชการ-ปี-61_15ธค60.pdf
7. Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal directed therapy in treatment of severe sepsis and septic shock. N ENG J MED. 2001; 345(1): 1368-1377.
8. Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Med. 2017; 43(1): 304-377.
9. Mitchell M, Levy MD, Andrew R. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 Update. Crit Care Med. 2018; 46(1): 997-1000.
10.สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
11.ยุวดี เทียมสุวรรณ อรชร มาลาหอม ธีรนุช ยินดีสุข ประภัสสร ควาญช้างนุสรา ประเสริฐศรี การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหนักที่ติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้การจัดการรายกรณีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี วารสารการพยาบาลและการดูแล 2560; 35(1): 184-193.
12.วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ จิราพร น้อมกุศล รัตนา ทองแจ่ม และธนชัย พนาพุฒิ การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือดอย่างรุนแรง วารสารการพยาบาลและการดูแล 2557; 32(2): 25-36
13. Rosswurm, MA, Larrabee JH. A Model for change to Evidence- Based Practice. Journal of Nursing Scholarship. 1999; 13(4): 317- 322.
14. กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2560; 34(3): 222-236.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29