การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการและการออกกำลังกายด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในบริบทสังคมวัฒนธรรมชุมชนอีสาน

ผู้แต่ง

  • จินตนา สุวิทวัส

คำสำคัญ:

: การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเอง วิถีการแพทย์แผนไทย ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการและการออกกำลังกายด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในบริบทสังคมวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ทำการศึกษาในพื้นที่ ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การศึกษาเอกสารและทบทวนงานวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ผู้ดูแลหรือญาติผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ พยาบาลวิชาชีพประจำที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้

โปรแกรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการและการออกกำลังกายด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในบริบทสังคมวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้ 1)โปรแกรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โดยรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีรสสอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของผู้สูงอายุโรคเบาหวานและมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณตามรายการอาหารแลกเปลี่ยนในหมวดผัก ก. ผัก ข. และหมวดผลไม้ที่คำนวณได้ รวมทั้งควบคุมสัดส่วนของสารอาหารคาร์โบไฮเดรตตามน้ำหนักตัวมาตรฐานและกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้สูงอายูโรคเบาหวานแต่ละคน งดผลไม้รสหวานจัดทุกชนิด รวมทั้งงดของหวานและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทุกชนิด ธาตุดินรับประทานปลีกกล้วย กล้วยน้ำว้า ธาตุน้ำรับประทานกระเจี๊ยบแดง มะข้ามป้อม มะระขี้นก ธาตุลมรับประทานขิง ใบกะเพรา ใบชะพลู ธาตุไฟรับประทานมะระขี้นก ตำลึง รากเตยหอม ใบย่านาง รับประทานวันละ 3 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็น และ 2)โปรแกรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โดยกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน ทั้งหมด 4 ท่า ได้แก่ ท่าที่ 1 ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ท่าที่ 2 ท่าแก้ปวดท้องและข้อเท้าและแก้ลมปวดศีรษะ ท่าที่ 3 ท่าแก้กล่อนและแก้เข่าขัด และท่าที่ 4 ท่าแก้กร่อนปัตคาต ในตอนเช้าหลังตื่นนอน

References

1. World Health Organization.Diabetes.[online] Semtember 2012 [cite] March 3, 2013 Available from : http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.จำนวนและอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปีพ.ศ.2544-2554.[ออนไลท์] ม.ป.ป.[ค้นเมื่อ] 3 มีนาคม 2556 จาก http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.
3. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. [ออนไลท์] 8 พฤษภาคม 2554 [ค้นเมื่อ] 2 มีนาคม 2556 จาก http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000056440
4. รัชนี โชติมงคล, อัมพรพรรณ ธีรานุตร, สุวรรณา บุญญะลีพรรณ.รายงานการวิจัยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์.ขอนแก่น : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.
5. วรรณภา ศรีธัญรัตน์และผ่องพรรณ อรุณแสง .รายงานการวิจัยการศึกษาประสบการณ์ ความเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและครอบครัวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2550.
6. กาญจนา ปัญญาทร,สุทาทิตย์ เทียมวงษ์, กรรณิการณ์ คลื่นแก้ว, ลักขณา ศิริบูรณ์ และอมร คำทะริ.แบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โซนราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ปี 2549.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2550 15(2): 46-59.
7. อาจารี สุริยขันธ์, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และนุชจรีย์ แสนประสาท.พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2551 16(ภาคผนวก ข): 867-72.
8. สายฝน ครุฑช่างทอง.การพัฒนาการวางแผนการดุแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของสถานีอนามัยบ้านแท่น ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
9. วิไลลักษณ์ เพ่งฤทธิ์ และศิริพันธ์ สาสัตย์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2554; 12(1): 33-46.
10. วรารก์ หวังจิตต์เชียร. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551; 27(3): 1093-1102.
11. อรรถพล บัวเอี่ยม. การควบคุมระดับน้ำตาล ปัจจัยเมตะบอลิกอื่นๆ และภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551;27(3): 1103-1114.
12. ชัช จันทร์งาม. ผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนครชัยศรี. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551; 27 (2-3): 25-30.
13. สุทิน พิศาลวาปี และคณะ. พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2548; 2(2): 165-172.
14. ศุภลักษณ์ จันหาญ.การบริการสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน เครือข่ายของโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2547; 1(2): 8-13.
15. อุบล ชาอ่อน และคณะ.รายงานการวิจัยผลของอาหารพื้นบ้านและการออกกำลังกายต่อดัชนีทางชีวเคมีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
16. จินตนา สุวิทวัส,เนตรชนก. แก้วจันทา.ผลทันทีของการกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตนต่ออุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุ.ใน การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา;2553.
17. Levin L., Idler EL. Self-care in healt. Annual Review of Public Health 1983;4(1):181-201.
18. Orem DE. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St.Louis: Mosby, 2001.
19. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล.องค์ความรู้จากงานวิจัยสมุนไพรไทย 10 ชนิด : กระชายดำ กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง บัวบก พริกไทย ไพล ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม มะระขี้นก. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่; 2550.
20. ชูศรี ตลับมุข, รติรส วิรัตน์ และ จุราภรณ์ ทองปน. ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดปลีกล้วยในหนูเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามครั้งที่ 5. 2552; 348-358.
21. ปาริฉัตร ประจะเนย์. รายงานการวิจัยผลของสารสกัดกระเจี๊ยบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผนังของหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูแรทที่มีเมแทบอลิกซินโดรมเนื่องจากได้รับอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง.ขอนแก่น: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
22. อุไรวรรณ งาสาร. ผลของสารสกัดใบย่านางต่อการลดกูลโคสในเลือดและต่อลักษณะทางจุลพยาธิสภาพของตับอ่อนในหนูเมาส์เบาหวาน.ขอนแก่น : การศึกษาอีสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาสำหรับครู คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
23. วิเชียรชัย ผดุงเกียรติวงษ์.ผลของเกลือทะเลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2554; 4(1): 25-32.
24. ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง;2559.
25. สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2552.
26. เรณา พงษ์เรืองพันธุ์, ประสิทธิ์ พงษ์เรืองพันธุ์. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านสุขภาพอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยประเมินผลและการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2547.
27. อัญชลี ศรีจำเริญ. อาหารและโภชนาการ การป้องกันและการบำบัดโรค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น; 2556.
28. อภิรดี ศรีวิจิตรกมล และสุทิน ศรีอัษฎาพร. โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2548.
29. จินตนา สุวิทวัส.การส่งเสริมสุขภาพผุ้สูงอายุด้วยกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2552;32(4):84-92.
30. นภาจรี นำเบญจพล. สมาธิกับการคลายเครียด.วารสาร มกค.2540;17(1):56-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29