ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามพังและความแตกต่างระหว่างหญิงและชาย : การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามพัง

ผู้แต่ง

  • กันนิษฐา มาเห็ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ปิยนุช ภิญโย
  • รัชนี พจนา
  • ภาสินี โทอินทร์
  • พัฒนี ศรีโอษฐ์
  • พัฒนี ศรีโอษฐ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ การอยู่ตามลำพัง ประสบการณ์ สาเหตุ อุปสรรค

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นกลุ่มพึ่งพิงทางสังคมอย่างยาวนาน ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน กับสังคมที่ก้าวเข้าสู่ประชากรสูงอายุ ผู้สูงอายุซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญกับกระบวนการสูงอายุยังมีความเปราะบางในตนเองจากการมีพลังชีวิตที่ลดลง ด้วยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงด้วย ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยยังมีจำนวนค่อนข้างจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้และศึกษาประสบการณ์การดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังของผู้สูงอายุรวมถึงศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ โดยดำเนินการสืบค้นรายงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ และสืบค้นด้วยมือ และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนา ดำเนินการ 7 ขั้นตอน โดยทำการแปลความแบบเทียบกลับไปกลับมา ได้ประเด็นอุปมาจำนวน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) ความหมาย การรับรู้ต่อการอยู่ตามลำพัง 2) สาเหตุที่ต้องอยู่ตามลำพัง 3) ความต้องการ หรือสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพตามลำพัง 4) ผลกระทบจากการอยู่ตามลำพัง 5) ปัจจัยสนับสนุน และปัญหาอุปสรรคในการอาศัยอยู่ตามลำพัง 6) กลวิธีในการเผชิญ และแก้ไขปัญหา 7) ความแตกต่างระหว่างชายและหญิงสูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังเกิดจากการแปลความเทียบกลับไปกลับมา และประเด็น ทัศนะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังต่อดำรงชีวิตตามลำพัง ส่วนแปลความเชิงหักล้างได้ประเด็นอุปมาคือ ทัศนคติต่อการอยู่ตามลำพังของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้สำหรับการวางแผนที่มีความเหมาะสมในการจัดบริการแก่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560.กรุงเทพฯ:บริษัมอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน);2561.
2. ประภาพร มโนรัตน์ และพรรณพิไล สุทธนะ. รูปแบบเครือข่ายจิตอาสาสร่างสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง. อุตรดิตถ์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์; 2555.
3. Mullins.L.C.,Sheppard ,H.L.,& Anderson, L. Loneliness and social isolation in Sweden: Differences in age, sex,labor force status,self-rated health, and income adequacy. Journal of Applied Gerontology 1991; 110(3):455-468.
4. Yetter, L. Susan. “The Experience of Older Men Living Alone.” Geriatric Nursing (New York, N.Y.) 31, no. 6 (December2010):412–18. doi:10.1016/j.gerinurse.2010.07.001.
5. จุไร เทพวงศ์ และคณะ. แนวทางการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ สำหรับคนพิการในประเทศไทย. NECTEC ;2550..
6. กันนิษฐา มาเห็ม และขนิษฐา นันทบุตร.การให้ความหมายผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือโดยชุมชน:เทศบาลตำบลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2561; 41(3) : 65-76.
7. Noblit G.W. & Hare R.D. Meta-Ethnography:Synthesizing Qualitative Studies. Newbury Park, Sage 1988:1-13
8. M.W., Baker. Creation of a model of independence for community dwelling elders in the United States. Nursing Research. 54: 288-295.
9. M. J., Schank & M. A., Lough. Profile: Frail elderly women, maintaining independence. Journal of Advanced Nursing. 1990; 15, 674-682.
10. E. C., Carey, L. C., Walter, K., Lindquist, & K. E., Covinsky. Development and validation of a functional morbidity index to predict mortality in community wellingelders. 2004: 19, 1027-1033.
11. บุญทิพย์ สิริธรังศรี ละคณะ. คู่มือการฝึกอบรมโครงการ การให้ความรู้และกำลังใจแก่ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง.มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช;2553.
12. นภาพร ชโยวรรณ. สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย ในการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการเพื่อผู้สูงอายุ ในท้องถิ่นตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ณ โรงแรม ศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา ; 2551.
13. Apt, N. A. (2001). Rapid urbanization and living arrangements of older persons in Africa. United Nations Population Bulletin, Special Issue Nos. 42/43. Retrieved from:http://www.un.org/esa/population/publications/bulletin42_43/apt.pdf
14. Mason, A., & Lee, S. H.. Population aging and the extended family in Taiwan: a new model for analyzing and projecting living arrangements; 2003.
15 Tsai H. & YF Tsai, HL Huang., Prevalence and factors related to depressive symptoms among family caregivers of nursing home residents in Taiwan. Journal of clinical nursing 2016; 48 (2):1145–1152
16. S., Elliott, J., Painter & S., Hudson. Living alone and fall risk factors in community dwelling middle age and older adults. Journal of Community Health. 2009; 34(4), 301-10.
17. H., Karen. The everyday life of women ages 85 and older living alone in their own residences who receive help. [Doctor of Philosophy]. Texas Woman's University: 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29