การศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการ ของคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
Academic Administration, Needs Assessment, Faculty of Nursing Rajabhat Universityบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและคณาจารย์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 8 แห่ง จำนวน 104 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามดังกล่าวเท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNI modified
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานด้านการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.21, S.D. = 0.96) และความต้องการจำเป็นด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ควรได้รับการพัฒนาเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการวัดประเมินผล (PNI modified = 0.51) ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI modified = 0.50) และด้านการบริหารหลักสูตร (PNI modified = 0.46) ตามลำดับ ผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในกำหนดแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานวิชาการของสถาบันการศึกษาทางการพยาบาล เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้มีคุณภาพและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
References
2. สภาการพยาบาล. ชื่อสถาบันการศึกษาและหลักสูตรที่ทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ที่ได้รับการรับรองสถาบันจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล. วันที่ค้นข้อมูล 16
มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.tnmc.or.th/content/content-448.html; 2561.
3. MGR Online. การันตีคุณภาพบัณฑิตพยาบาลสวนดุสิต รพ.รัฐ-เอกชนจองตัวตั้งแต่ยังไม่จบ. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2561, เข้าถึงได้ http://www.unigang.com/Article/40302;
2559.
4. นิตยา เพ็ชรไทยพงศ์. สภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ภาคใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555
5. สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
6. สุขสุรีย์ เหล็กขำ. การประเมินและจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2545 สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การ
อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.
7. ราตรี สอนดี. ปัจจัยการบริหารทีส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
8. อนุวัติ คณูแก้ว. การวัดและประเมินผลการศึกษา. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์; 2546.
9. พรเทพ สรนันท์. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
อาชีวศึกษา คณะครุ ศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2556.
10. วิบูลย์ลักษณ์ ปรียาวงศากุล. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาล ในสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2551; 1(2) :
82-98