การรังแกกันผ่านพื้นการรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย Cyber Bullying Among Nurses in Thailand

ผู้แต่ง

  • วรรณชาติ ตาเลิศ
  • อนุศร การะเกษ
  • วราพร สุดบุญมา

คำสำคัญ:

การรังแกกัน พื้นที่ไซเบอร์ พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการรังแกกัน ประสบการณ์ ผลกระทบและแหล่งสนับสนุนเมื่อเกิดการรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 241 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 – เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ของพยาบาลวิชาชีพ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพถูกรังแกจากสื่อออนไลน์มากถึงร้อยละ 33.32 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 72.20 พื้นที่ที่มีการรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ส่วนใหญ่เป็นหอผู้ป่วยใน ร้อยละ 34.85 รองลงมาคือแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ร้อยละ 26.14 พบว่าการถูกคุกคามผ่านสื่อออนไลน์ 3 ลำดับแรก คือ การนินทา ด่าทอ ร้อยละ81.33 รองลงมา คือ การหมิ่นประมาท ร้อยละ 53.53 และการแอบอ้างในด้านลบ ร้อยละ 31.54 1) ลักษณะการรังแกกันส่วนใหญ่เป็นการโพสต์ แคป หรือ แชร์ คัดลอกข้อความ รูปภาพ วีดิโอ ที่เป็นความลับและเสียชื่อเสียง ร้อยละ 15.35 2) ประสบการณ์ของการรังแกกันส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการถูกโพสต์ข้อความ ภาพ หรือวีดิโอ ขณะทำกิจกรรมการพยาบาลหรือขณะปฏิบัติงานในพื้นที่ออนไลน์ซึ่งเป็นการคุกคามด้านร่างกาย จิตใจและเกิดความกดดันทางอ้อมในระดับมาก (M=7.81, SD=2.44) 3) ผลกระทบของการรังแกกันส่งผลต่อความรู้สึกถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวในระดับมาก (M= 7.41, SD=3.02) ส่งผลต่อการมองโลกในแง่ดี (M=6.51, SD=2.96) ส่งต่อความมุ่งมานะในการทำงาน (M=6.46, SD=3.08) ทำให้ไม่อยากกลับไปทำงาน (M=6.02, SD=3.18) ทำให้อยากจะลาออกจากงาน (M=6.47, SD=3.27) ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4) แหล่งสนับสนุนเมื่อเกิดการรังแกกันพบว่าพยาบาลวิชาชีพเลือกที่จะปรึกษากับเพื่อนร่วมงานร้อยละ 70.54 รองลงมา คือ รายงานผู้บังคับบัญชาร้อยละ 64.73 และเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง คือ การปล่อยให้เรื่องมันจบไปเองร้อยละ 46.06 การรังแกในพื้นที่ออนไลน์สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะผู้ถูกกระทำ ดังนั้นการสร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบต่อการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ให้บริการทางการพยาบาลและหาแนวทางป้องกันการรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์จะช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27