คุณภาพชีวิตและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม และผลของโปรแกรมการอบรมผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ปิติพร สิริทิพากร
  • วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ความรู้สึกเป็นภาระ, ภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มาเข้ารับการอบรมการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 97 ราย กับ คุณภาพชีวิตและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมที่มารับการตรวจรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ รพ.ศิริราช จำนวน 104 ราย และติดตามผลของโปรแกรมการอบรมฯ ภายหลังได้รับการอบรม 3 เดือน ทางไปรษณีย์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลของ Zarit แบบสอบถามความพึงพอใจและการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา t-test Mann-Whitney U test และ Wilcoxon’s sign rank test

                ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่า และมีความรู้สึกเป็นภาระที่มากกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมภายหลังที่ได้รับการอบรมฯ มีความมั่นใจในการดูแลได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.4 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลได้ในระดับมาก ร้อยละ 48.5 นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกครอบครัวหรือผู้อื่นได้ในระดับมาก ร้อยละ 42.3 เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมก่อนและหลังการอบรม ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. มิเตอร์ประเทศไทย Thailandometers [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/
2. ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนี่ยนครีเอชั่น จำกัด; 2556.
3. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, บรรณาธิการ. การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม Dementia: Prevention, Assessment and Care. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2556.
4. Alzheimer’s Disease International. Alzheimer’s Australia. Dementia in the Asia Pacific Region [Internet]. 2014 [cited 2017 June 8]. Available from: https://www.alz.co.uk/adi/pdf/Dementia-Asia-Pacific-2014.pdf.
5. ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางการดูแล. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟพริ้นท์ จำกัด; 2551.
6. Siritipakorn P, Puwarawuttipanit W, Pinyopasakul W, Muangpaisan W. The relationships among caregiver burden, learned resourcefulness and health status in family caregivers of dementia patients. J Gerontol Geriatr Med. 2012;13(2):25-35.
7. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลผู้ป่วยภาวะภาวะสมองเสื่อมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 8 มิ.ย.2560]. เข้าถึงได้จาก: http://v2.agingthai.org/files/users/3451/page/20100204_94330.pdf.
8. Muangpaisan W, Praditsuwan R, Assanasen J, Srinonprasert V, Assantachai P, Intalapaporn S, et al. Caregiver burden and needs of dementia caregivers in Thailand: a cross-sectional study. J Med Assoc Thai. 2010;93(5):601-7.
9. The World Health Organization Quality of Life assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Soc Sci Med. 1995;41(10):1403-9.
10. Xie H, Cheng C, Tao Y, Zhang J, Robert D, Jia J, et al. Quality of life in Chinese family caregivers for elderly people with chronic diseases. Health Qual Life Outcomes. 2016;14(1):99.
11. Arai H, Nagatsuka M, Hirai K. The relationship between health-related quality of life and social networks among Japanese family caregivers for people with disabilities. Biopsychosoc Med. 2008;2:17.
12. Canam C, Acorn S. Quality of life for family caregivers of people with chronic health problems. Rehabil Nurs. 1999;24(5):192-6.
13. Truong, Quang Trung. The quality of life and caregiving burden among caregivers of people with dementia in Hanoi, Bac Ninh and Hai Phong, Vietnam[Internet]. Diss. Queensland University of Technology; 2015 [cited 2017 June 8]. Available from: https://eprints.qut.edu.au/82287/1/Quang%20Trung_Truong_Thesis.pdf.
14. Marram GK. The group approach in nursing practice. (2nd ed). Saint Louis: Mosby; 1978.
15. ประเสริฐ อัสสันตชัย. การประเมินสุขภาพในผู้สูงอายุ. ใน: คู่มือการดูแลผู้สูงอายุจากสถานพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: บริษัทสินทวีการพิมพ์จำกัด; 2555. หน้า 71-2.
16. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 มิ.ย.2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol/
17. Bedard M, Molloy DW, Squire L, Dubois S, Lever JA, O'Donnell M. The Zarit Burden Interview: a new short version and screening version. Gerontologist. 2001;41(5):652-7.
18. Hoe J, Hancock G, Livingston G, Woods B, Challis D, Orrell M. Changes in the quality of life of people with dementia living in care homes. Alzheimer disease and associated disorders 2009;23(3):285–90.
19. ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://164.115.27.97/digital/files/original/eccae20356e5df62398430c430a17b43.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26