การเตรียมความพร้อมด้านบุคคล ด้านบทบาทของชุมชน และด้านพฤฒพลัง เพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เขตอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ ชัยวัฒน์ ศูนย์คู่ความร่วมมือทางวิชาการโครงการพัฒนาและวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • กัลยรัตน์ ศรกล้า
  • สุรีรัตน์ สืนสันต์
  • วรนาถ พรหมศวร

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม   บทบาทของชุมชน   พฤฒพลั

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2. เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยเทียบตามกลุ่มอายุระหว่างช่วงอายุ 40-49 ปี กับช่วงอายุ 50-59 ปี และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทของชุมชนต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 398 คน ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยเทียบระหว่างช่วงอายุ 40 – 49 ปี กับช่วงอายุ 50 – 59 ปี มีการเตรียมความพร้อมไม่แตกต่างกัน และการเตรียมความพร้อมโดยรวมตามกรอบนโยบายพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก พบว่าทั้ง 2 กลุ่มวัยมีการเตรียมความพร้อมไม่แตกต่างกัน คือมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ และเมื่อศึกษาบทบาทของชุมชนต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พบว่า ช่วงอายุ 40-49 ปี มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับน้อย และช่วงอายุ 50-59 ปี มีการเตรียมความพร้อมในระดับปานกลาง

                ผลในการวิจัยครั้งนี้ ช่วยให้ทีมสุขภาพได้เข้าใจถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในแต่ละด้าน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาค้นหาปัจจัยที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมพฤฒพลังในแต่ละด้านต่อไป

 

คำสำคัญ การเตรียมความพร้อม   บทบาทของชุมชน   พฤฒพลัง

References

กาญจนา สนิท, นาวิน พรมใจสา และ ศิวาพร วังสมบัติ. (2560). แนวทางการเตรียมพร้อมเข้าสู่อายุของประชาชน
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2). 31-48.
นงเยาว์ มีเทียน และ อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. (2561). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังในผู้ใหญ่วัยกลางคนเขตกึ่งเมือง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(2), 123-131.
ปณิธี บราวน์. (2015). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ“ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงวัย. Humanities and Social Sciences, 31(3), 97-120.
ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ และ นวลใย วัฒนกูล.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมทุนทางวัฒนธรรมกับสุขภาวะผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ประกาย จิโรจน์กุล, นิภา ลีสุคนธ์, เรณู ขวัญยืน และ วันเพ็ญ แก้วปาน. (2560). การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ. ของผู้ใหญ่วัยกลางคนในเขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก
http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10257524.
ปราโมทย์ ประสาทกุล และ ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2555). โครงสร้างประชากรและการเปลี่ยนแปลง. เข้าถึงได้จาก
http://www.hiso.or.th.
ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร,ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และ เพ็ญศรี พิชัยสนิธ. (2560). การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 259-271.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วิไลพร วงค์คีนี, โรจนี จินตนาวัฒน์ และ กนกพร สุคาาวัง. (2556). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(4), 91-99.
วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2552). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชารสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2550. เข้าถึงได้
จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_2-1-1 html.
United Nations. (2009). World population aging 2009. Department of Economic and Social Affairs, Population Division. Retrieved from http://esa.un.org/wpp/sources/ country.aspx.
WorldHealthOrganization.[WHO].(2002). Activeageing:Apolicyframework(WHO/NMH/NPH/02.8). Retrieved from http://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29