พฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยและการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ชุมชนกะเหรี่ยงรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ Chiang Rai Rajabhat University
  • มณุเชษฐ์ มะโนธรรม
  • วรัญญา มณีรัตน์
  • จุฑามาศ เมืองมูล
  • วารุณี พันธ์วงศ์

คำสำคัญ:

การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย, แรงสนับสนุนทางสังคม, ผู้สูงอายุ, กะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย  แรงสนับสนุนทางสังคม และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ชุมชนกะเหรี่ยงรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือนเมษายน 2561 กลุ่มประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จำนวน 102 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยและแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ  3 ท่าน ได้เท่ากับ .99 และนำมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach alpha’s coefficient) เท่ากับ .84 และ .81 ตามลำดับ  จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยนำมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

                   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.0  เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (60 – 69 ปี) คิดเป็นร้อยละ 54.0 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยอยู่ในระดับดี (Mean = 2.02, σ = 0.724) แรงสนับสนุนจากสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.57, σ = 0.726) พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = .008, p<.05)

                   ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้แรงสนับสนุนจากสังคม เพื่อให้เกิดการดูแลที่ยั่งยืนในชุมชนต่อไป

References

1. Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. Statistical data on the number of elderly in Thailand in 2016. 2016 [Cited 2019 September 10].
Available from: http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20170707092742_1.pdf. (in Thai)
2. Ministry of Social Development and Human Security. Statistical data of the number of elderly in Thailand for the year 2018. 2018 [Cited 2019 September 10]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/1/153. (in Thai)
3. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Situation of the Thai Elderly 2016. 2016 [Cited 2019 September 10]. Available from:http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512367202-108_0.pdf. (in Thai)
4. Strategic groups and plans Bureau of Non-Communicable Diseases. Annual report 2015. Non-communicable disease office, Department of Disease Control.Office of the Printing Service of the War Veterans Organization under the Royal Patronage; 2016. (in Thai)
5. Kok RM, Nolen WA, Heeren TJ. Efficacy of treatment in older depressed patients: a systematic review and meta-analysis of double-blind randomized controlled trials with antidepressants. J Affect Disord. 2012;141:103–115.
6. Orem D.Nursing concepts of practice (6th edition). St. Louis: Mosby ; 2001.
7. Konkaew, W. The Health Behavior Of Elderly Of Klongtumru Sub-district, Amphoe Mueang Chon Buri.The graduate school of public administration, Burapha University; 2014. (in Thai)
8. Janssen BM, van Regenmortel T, Abma TA. Balancing risk prevention and Health Promotion: towards a harmonizing approach in care for older people in the community. Health Care Anal 2014; 22:82–102.
9. Holt-Lunstad J, Smith TB, Layton JB (2010) Social relationships and mortality risk: a meta-analytic review. PLoS Med 2010 ; 7(7).
10. Nitananchai S. & Santithirasak M. Social and Environmental Support Affecting the Self - Care of the Elderly in Samut Prakan Province. Journal of Nursing Division. 2010 ; 37(2) : 64-75. (in Thai)
11. Konkaew W. The Health Behavior Of Elderly Of Klongtumru Sub-district, Amphoe Mueang Chon Buri.The graduate school of public administration, Burapha University; 2014. (in Thai)
12. Klumrat K, Jongwutiwes K, Mahakan P, Prasertsuk N. Causal Factors of Health Behavior of Elderly in Western Region of Thailand. RMU.J.(Humanities and Social Sciences) 2013 ; 7(3):93-104. (in Thai)
13. Pongsaengpan P, Rodjarkpai Y. Community Participation on Elderly Health Promotion. Faculty of Public Health, Burapha University; 2013. (in Thai)
14. Monica P, Christine L.Exploring Sex and Gender Differences in Sleep Health: A Society for Women's Health Research Report. J Womens Health 2014 ; 23(7): 553–562.
15. Somboon S, Somanusorn S, Sumgern C. Factors Related to Healthy Aging among Elderly. Kuakarun Journal of Nursing 2018; 25(1):141-153. (in Thai)
16. Kandee P, Sukwong P, Weiangkham D. Perceived social support of community-dwelling rural elderly in northern Thailand. J Ment Health Thai 2018 ; 24(1): 40-51. (in Thai)
17. Rattana W. Health Care Behavior and Social Support with Elderly’s of Life Quality of Aging Club at Suratthani Central Hospital. . Master Development Psychology Graduate School. Srinakharinwirot University; 2009. (in Thai)
18. Jitsopakul N.Factors Related to Health Promotion Behavior of the Elderly in the Village Group, Bueng San Sub-district, Ongkharak District Nakhon Nayok Province. Pathumthani university academic journal 2014; 6(3) : 171 – 178. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29