การปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดสุรา:การศึกษาหลายกรณี
คำสำคัญ:
การปรับตัวของครอบครัว ความเครียด การเผชิญปัญหา ติดสุราบทคัดย่อ
การศึกษาหลายกรณี (Multi-cases study) มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดสุรา โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการคืนสภาพครอบครัว กลุ่มเป้าหมายเป็นครอบครัวและบุคคลติดสุราที่มารับการรักษา จำนวน 5 ครอบครัว เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามซึ่งตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรง 0.78 และนำไปลองใช้เพื่อประเมินความเป็นไปได้กับครอบครัวที่คล้ายกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาค่าคะแนนสำหรับแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่าบุคคลติดสุราเป็นเพศชาย 5 คน อายุ 30-60 ปี สมาชิกครอบครัวเป็นหญิง 4 คน ชาย 1 คน อายุ 30-70 ปี สาเหตุความเครียด ได้แก่ คนในครอบครัวติดสุรามานาน ความเปราะบางที่พบ คือการหย่าร้างและมีความขัดแย้ง ครอบครัวมีความรู้สึกเบื่อหน่าย ทำใจไม่ได้ สำหรับบุคคลติดสุรารู้สึกโกรธ และน้อยใจ การเผชิญปัญหาของครอบครัว ใช้วิธีการเงียบเฉย ไม่สนใจ บุคคลติดสุราตำหนิและทำร้ายตนเองเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน แหล่งสนับสนุนของครอบครัวมีน้อยมาก ญาติและเพื่อนบ้านเบื่อหน่ายไม่สนใจ ครอบครัวต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคลากรทางการแพทย์ทุกราย ผลลัพธ์การปรับตัวพบว่าบุคคลติดสุราบกพร่องในการทำหน้าที่ ครอบครัวมีความรุนแรง เครียดและเป็นทุกข์อย่างมาก
สรุปได้ว่าจากผลการศึกษาพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจักต้องหาแนวทางดูแลช่วยเหลือครอบครัวที่มีบุคคลติดสุราทั้งระบบเพื่อลดความเครียดและเสริมสร้างการปรับตัวเพื่อให้มีผลลัพธ์สุขภาพที่ดีต่อไป
References
โกศล วงศ์สวรรค์, และเลิศลักษณ์ วงศ์สวรรค์. (2551). สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: ธเนศวรพริ้นติ้ง.
ครอบครัวระยะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์.
จินตนา วัชรสินธุ์. (2549). วิชา 102522 ทฤษฎีการพยาบาลครอบครัวขั้นสูง. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดารุณี จงอุดมการณ์. (2558). การพยาบาลสุขภาพครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในครอบครัวระยะวิกฤติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2550). จิตวิทยาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พิชัย แสงชาญชัย. (2552). การทบทวนองค์ความรู้เรื่องจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ติดสุรา. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ภาวดี โตท่าโรง, ประภา ลิ้มประสูติ, และชมนาด วรรณพรศิริ. (2551). ประสบการณ์การเลิกดื่มสุราอย่างถาวรของผู้เคยติดสุรา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(2),45-46.
รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง.
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2544). ตำราการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพฯ: วัชระอินเตอร์ปริ้นติ้ง.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมและความตั้งใจเลิกยาเสพติดของ
ผู้ติดยาเสพติดในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่. เชียงใหม่: เวียงบัวการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2556). สถานการณ์บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
สมภพ เรืองตระกูล. (2551). ตำรากลุ่มบำบัดและครอบครัวบำบัด. กรุงเทพฯ: เรืองแก้วการพิมพ์.
สายชล ยุบลพันธ์. (2553). ผลของโปรแกรมบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจโดยญาติมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุงจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาวิตรี สุริยะฉาย. (2556). การบำบัดผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมมางจิตเวชที่ประสบผลสำเร็จ (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553).
สุจิตรา ขุนน้อย. (2560). การเผชิญปัญหาของครอบครัวที่มีวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
American Psychiatric Association. (2013). Desk reference to the diagnostic criteria from DSM-5 (TM). 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Publishing.
Nora, D., &Volkow, M.D. (2018). The science of drug use and addiction: The basics.Retrieved November 5, 2018, from http://www.drugabuse.gov
McCubbin, H. I., &McCubbin, M. A. (1996). Resiliency in families: A conceptual model of family adjustment and adaptation in response to stress and crises. In H. I. McCubbin, A. I. Thompson, & M. A. McCubbin (1996). Family assessment: resiliency, coping and adaptation-Inventories for research and practice. Madison: University of Wisconsin System.
Choate, P.w. (2015). Adolescent Alcoholism and Drug Addiction: The Experience of Parents.
Doan, A.(ED).(2015). Behavioral sciences. (pp. 461-476).
Calgary : Deparment of child studies and social work., Mount Royal University.
Walsh, F. (2016). Family resilience: a developmental systems framework. European journal of
Developmentalpsychology, (pp. 1-12).Chicago : Chicago center for Family Health.
Baharudin, D.F., Hussin, A.H.M., Sumari, M., Mohamed, S., Zakaria, M.Z. &Sawai, R.P.
(2013).Family intervention for the treatment and rehabilitation of drug addiction: an exploratory study. Journal of substance use.(pp. 1-6).