การจัดการรายกรณีเพื่อดูแลผู้ติดสุราต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
คำสำคัญ:
การจัดการรายกรณี การดูแลผู้ติดสุราบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อดูแลผู้ติดสุราที่ผ่านการบำบัดต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน มีผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ผู้รับการบำบัดสุรา ญาติหรือผู้ดูแล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แนวทางการจัดประชุมกลุ่ม แนวทางการสังเกต และแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา AUDIT พบว่า ขาดแนวทางการดูแลผู้รับการบำบัดสุราต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนที่ครอบคลุม การประสานงานส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้รับการบำบัดสุราไม่ต่อเนื่อง ด้านผู้รับการบำบัดสุรา พบว่า มารับการบำบัดรักษาไม่ต่อเนื่อง หยุดการบำบัดกลางครัน มีการกลับไปดื่มซ้ำ และมีโรคร่วมทางกายเกิดขึ้น ได้แก่โรคทางอายุรกรรม อุบัติเหตุต่างๆ การพัฒนาได้ แผนการดูแลผู้รับการบำบัดสุราต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน โดยทีมสหวิชาชีพและพยาบาลผู้จัดการให้คำปรึกษาชี้แนะ ติดตาม ประสานการดูแล หาแหล่งสนับสนุนในชุมชน ให้ผู้รับการบำบัดสุราได้รับการรักษาตามแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ นอกเหนือจากนั้นยังพบว่า แผนการดูแลสามารถปฏิบัติได้จริง ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเกิดความมั่นใจในการดูแลผู้รับการบำบัดสุรา ผู้รับการบำบัดสุราได้รับการดูแลตามแผนอย่างทันท่วงที ปลอดภัย และผู้รับการบำบัดสุราได้รับการติดตามเยี่ยมเดือนละครั้งเป็นเวลา 3 เดือน ผู้รับการบำบัดสุราและญาติมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบในครั้งนี้
References
2.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2556). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2556. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
3.กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สำหรับวัยทำงาน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กองสุขศึกษา
4. Cohen EL, Cesta TG. Nursing case management from Essentials to Advanced Practice Applications.
3nded. St.Louis: Mosby; 2001.
5. Suzanne K. Powell. Advanced Case management outcomes and beyond. Philadelphia: Lippincott –
Raven publisher; 2000.
6. อัคริยา สมรรคบุตร. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดย
ใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี. วารสารกองการพยาบาล 2008; 35(1): 26–35.
7. จินตนา ยูนิพันธ์และคณะ. การจัดการผู้ป่วยรายกรณี : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. เอกสารประกอบ
การประชุม. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2005.
8. อัญชัญ ไพบูรณ์. ผลของการใช้โปรแกรมการพัฒนาผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อการแสดงบทบาท
ผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณีของพยาบาลวิชาชีพ.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;
2004.
9.ขนิษฐา นันทะบุตร และคณะ. (2550). ระบบการดูแลสุขภาพชุมขน: แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์
10. มานิต ศรีสุรภานนท์. การทบทวนองค์ความรู้เรื่องการใช้ยาในการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา: แผนงานการ
พัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ(ผรส.).เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์ ; 2552.
11. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. การทบทวนองค์ความรู้เรื่อง การคัดกรองผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. เชียงใหม่:
วนิดาการพิมพ์; 2552.