ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วย โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วาร์ธินีย์ แสนยศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • วรกัญญา ยาทองไชย

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, การดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บิดามารดาเป็นบุคคลสำคัญในดูแลเด็กเพื่อที่จะทำให้การฟื้นหายเร็วขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างกับการมีส่วนร่วมของบิดามารดา การได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย และความเครียดของบิดามารดา กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาหรือมารดาของเด็กป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างอายุ 1 เดือน - 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม จำนวน 67 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของบิดามารดา 2) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดา 3) แบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนข้อมูล 4) แบบสอบถามความรุนแรงของความเจ็บป่วย 5) แบบประเมินความเครียดของบิดามารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของบิดามารดาและการได้รับข้อมูลสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลระดับสูง (r=.08, r=.08, p>.01 ตามลำดับ) ภาวะเครียดของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (r=.59, p>.01) การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาล

 

 

 

 

 

References

1. Liu L, Johnson HL, Cousens S, Perin J, Scott S, Lawn JE, et al. (2012). Global, regional, and national causes of child mortality: an updated systematic analysis for 2010 with time trends since 2000. Lancet, 379(9832): 2151-21561.
2. World Health Organization [WHO]. (2019). Pneumonia. Retrieved August 22, 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.
3. Wardlaw T, Salama P, Johansson EW, Mason E. (2006). Pneumonia: the leading killer of children. Lancet, 368(23): 1048-1050.
4. จริยา สามิตร, จุฑารัตน์ มีสุขโข, และสุธิศา ล่ามช้าง. (2012). การสนับสนุนข้อมูลสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 40(4), 114-125.
5. วาสนา ไชยวงศ์, สุธิศา ล่ามช้าง, และวิมล ธนสุวรรณ. (2004). สิ่งก่อความเครียดของผู้ปกครองเด็กป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน. พยาบาลสาร, 31(3), 29-45.
6. อาจรีย์ แดงโสภณ, วิยะดา เมภัสสกุล, มาเรียม เกาะประเสริฐ, และ อัญชรส ทองเพ็ชร. (2010). ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาที่มีต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแลเด็กป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน. รายงานวิจัย สถาบันราชานุกูล.
7. Bandura A. (2003). Social cognitive theory: an agentic perspective. Annual Review of Psychology, 52:1-26.
8. จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, นุจรี ไชยมงคล, และยุนี พงศ์จตุรวิทย์. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4), 85-94.
9. Chaisom, P., Yenbut, J., Chontawan, R., Soivong, P., & Patumanond, J. (2010). Predicting factors of dependent care behaviors among mothers of toddlers with congenital heart disease. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences, 9(2), 193-200
a. Han, N., & Pongjaturawit, Y., & Chaimongkol, N. (2015). Factor related to self-efficacy in caring for young children with pneumonia among Vietnams mothers. Burapha University international conference. 2015, 323-330.
10. Octavia D, Thongpat S, Khumsean N. (2015). Factors related to maternal self-efficacy in providing home care for under five children with pneumonia in JAMBI city, INDONESIA. J Health Res, 29(1): 61-68.
11. Bandura A. (1997). Self-efficacy: the exercise to control. New York: W.H. Freeman.
12. Schepp, K. G. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA
13. ณิชกานต์ ไชยชนะ, ศรีพรรณ กันธวัง, และนันทา เลียววิริยะกิจ. (2003). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 30(4), 58-71.
14. ไกรวรร กาพันธ์, ศรีพรรณ กันธวัง และอุษณีย์ จินตะเวช. (2010). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความ เจ็บป่วยวิกฤต ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.พยาบาลสาร, 37(3), 62-75.
15. แสงตะวัน บุญรอด. (2010). ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความสามารถและความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
16. สุธิศา ล่ามช้าง, ศรีมนา นิยมค้า, อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล, ปรีชา ล่ามช้าง, และรัตนาวดี ชอนตะวัน. (2015). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ. พยาบาลสาร, 42(3): 13-23.
17. Ingram J, Cabral C, Hay A, Lucas PJ, & Horwood J. (2013). Parents’ information needs, self-efficacyand influencesonconsultingforchildhood respiratorytract infections: A qualitative study. Bio Med Central Family Practice, 14(106): 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30