การพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ของอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศศิประภา จำปาหวาย
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์

คำสำคัญ:

ระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง  ในอำเภอหนองเรือจังหวัดขอนแก่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 4 คน หญิงกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน ครอบครัวจำนวน 30คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 23 คน  และผู้นำชุมชนจำนวน 5 คน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ 1)ระยะวิเคราะห์สถานการณ์   2)ระยะปฏิบัติการ  และ3)ระยะประเมินผลวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังขาดการประชุมวางแผนร่วมกันของผู้ให้บริการและชุมชน  ระบบข้อมูล: ขาดการบันทึกและการสื่อสาร ระบบการแจ้งผลการตรวจคัดกรองและการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่ครอบคลุมขาดการประสานงานกับโรงพยาบาลชุมชนหนองเรือ  ผู้วิจัยและชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ประกอบด้วย1) มีการประชุมวางแผนในการให้บริการร่วมกันของผู้ให้บริการสุขภาพและชุมชน 2)จัดระบบข้อมูล:มีการบันทึกและการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพกับกลุ่มเสี่ยง เพิ่มช่องทางการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านวิทยุชุมชน จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนปีละ  1 ครั้ง และเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ในวันประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ระบบการแจ้งผลการตรวจ และการติดตามได้เพิ่มช่อง เป็น3 ช่องทางคือ อสม.นำหนังสือแจ้งผลการตรวจไปส่งให้ผู้รับบริการที่บ้าน ผู้รับบริการมาฟังผลการตรวจ ด้วยตนเองที่ รพ.สต.  และโทรศัพท์มาที่ รพ.สต.  เพื่อขอทราบผลการตรวจ  ส่วนหญิงกลุ่มเสี่ยงที่มีเซลล์ผิดปกติเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปแจ้งผลการตรวจที่บ้าน ในส่วนของหญิงกลุ่มเสี่ยงที่มีการติดเชื้อจะแนะนำให้มารับการรักษาที่รพ.สต.หลังการตรวจรักษาเจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลผลการดูแลรักษา และสรุปผลในสมุดทะเบียน ระบบการส่งต่อมีการประสานงานกับโรงพยาบาลหนองเรือในการแจ้งผลการรักษากลับมาที่ รพ.สต. ซึ่งผลลัพท์หลังการพัฒนาระบบบริการพบว่าอัตราความครอบคลุมของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านที่เป็นกรณีศึกษาเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.24   เป็น ร้อยละ 57.65

Downloads