ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัย
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งเป็นการศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัยที่มาติดตามการรักษาที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม 2555 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 70 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิก ได้แก่ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ และแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ดำเนินการศึกษาโดยให้การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มทดลองตามโปรแกรม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้การพยาบาลตามปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ก่อนและหลังการศึกษาครบ 16 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square, Independent t- test, Mann-Whiteney U test, Wilcoxon Signed Rank Test และ Paired t-testาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
ผลการวิจัย พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ (p < 0.05) แต่มีค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีไม่แตกต่างกับก่อนการทดลองและไม่แตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมนี้มีประโยชน์ในการลดดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ที่จะนำไปสู่การลดภาวะดื้ออินซูลินและลดภาวะน้ำตาลในเลือดลงได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าโปรแกรมนี้จะมีผลทำให้ระดับ ฮีโมโกลบินเอวันซี ลดลงแต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการให้การพยาบาลในโปรแกรม ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงโปรแกรมให้ครอบคลุมการจัดกระทำหรือควบคุมตัวแปรด้านทางเลือกที่สอดคล้องกับความชอบของบุคคล ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม รวมถึงศึกษาระยะเวลาของการให้การพยาบาล ที่จะส่งผลต่อการลดระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย