ประสบการณ์อาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • เพชรไพลิน ชัยชาญ 0872365599
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์อาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดการจัดการอาการของ Dodd et al. (2001)  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จำนวน 206 ราย ที่มารับยาเคมีบำบัด ณ หอผู้ป่วยพิเศษเคมีบำบัดผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562               เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามประสบการณ์อาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัด ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเป็นรายด้านเท่ากับ 0.91, 0.87 และ 0.89 ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย

              ผลการวิจัยพบว่าอาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัดที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คือ รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือ รู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช๊อตเวลาสัมผัสความเย็นหรือวัตถุที่มีความเย็น รู้สึกชาที่นิ้วเท้าหรือเท้า มีความลำบากในการเปิดขวดโหลหรือขวดอื่นๆ เนื่องจากมือไม่มีแรง และมีความรู้สึกคล้ายเข็มทิ่มที่นิ้วมือหรือมือ อาการที่มีความรุนแรง 5 อันดับแรก คือ รู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช๊อตเวลาสัมผัสความเย็นหรือวัตถุที่มีความเย็น รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือ รู้สึกชาที่นิ้วเท้าหรือเท้า มีความลำบากในการเปิดขวดโหลหรือขวดอื่นๆ เนื่องจากมือไม่มีแรง และมีความรู้สึกคล้ายเข็มทิ่มที่นิ้วมือหรือมือ

อาการที่มีความทุกข์ทรมาน 5 อันดับแรก คือ รู้สึกชาที่นิ้วเท้าหรือเท้า รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือ มีปัญหาในการจับปากกาและเขียนหนังสือไม่ถนัด ท้องผูก และรู้สึกแปล๊บหรือปวดแสบร้อนที่นิ้วมือหรือมือ อาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน 5 อันดับแรก คือ รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือ มีปัญหาในการจับปากกาและเขียนหนังสือไม่ถนัด รู้สึกชาที่นิ้วเท้าหรือเท้า รู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช๊อตเวลาสัมผัสความเย็นหรือวัตถุที่มีความเย็น และมีความลำบากในการทำกิจกรรมด้วยมือ เช่น การติดกระดุม รูดซิป ติดตะขอ การหยิบของชิ้นเล็กๆ

              กลุ่มตัวอย่างมีการตอบสนองต่ออาการโดยมีการตอบสนองทางด้านการรู้คิดคือ ส่วนใหญ่ต้องการหาสาเหตุของอาการ ต้องการหาวิธีการดูแลรักษา ต้องการความช่วยเหลือจากญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ป่วยด้วยกัน และมีบางส่วนที่คิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการรับยาเคมีบำบัดไม่จำเป็นต้องจัดการอาการ การตอบสนองทางด้านร่างกายคือ ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ สามารถออกไปพบปะเพื่อนฝูงเข้าสังคมได้ นอนหลับพักผ่อนได้ และสามารถไปทำงานได้ การตอบสนองทางด้านจิตใจคือ ส่วนใหญ่รู้สึกว่าอาการทำให้รู้สึกหงุดหงิด เครียด วิตกกังวล มีเพียงส่วนน้อยที่รู้สึกว่าอาการทำให้รู้สึกแย่ รู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลงหรือต้องพึ่งพาผู้อื่น การตอบสนองทางด้านพฤติกรรมคือ ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น ออกกำลังกายโดยการบริหารมือ/นิ้วมือ พักผ่อนมากขึ้น ใช้วิธีการนวด และใช้วิธีประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่น       

คำสำคัญ : ประสบการณ์อาการทางระบบประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

References

1. Kaeorat P, Pakdevong N. Patients ’ Experiences of Ongoing Chemotherapy for Colorectal Cancer. 2015;92–101.
2. Pimbung N, Wattana C, Harnirattisai T. The Effects of a Symptom-management Program on Severity of Symptom and Nutritional Status among Colorectal Cancer Patients Receiving Chemotherapy. 2015;42(November):73–83.
3. Prasertsri N, Teeyapan W, Leaungsomnapa Y, Wamalun C. Nurse ’ s Role in Caring of Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy Patients. Journal N, Health P. 2015;1-13
4. Padman S, Lee J, Kumar R, Slee M, Hakendorf P, Richards A, et al. Late effects of oxaliplatin-induced peripheral neuropathy (LEON)—cross-sectional cohort study of patients with colorectal cancer surviving at least 2 years. Support Care Cancer. 2014;23(3):861–9.
5. Tofthagen C, Visovsky CM, Hopgood R. Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy: 2013;17(2).
6. Hershman DL, Lacchetti C, Dworkin RH, Lavoie Smith EM, Bleeker J, Cavaletti G, et al. Prevention and management of chemotherapy-induced peripheral neuropathy in survivors of adult cancers: American society of clinical oncology clinical practice guideline. J Clin Oncol. 2014;32(18):1941–67.
7. Smith EML, Beck SL, Cohen J. The Total Neuropathy Score: A Tool for Measuring Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy. Oncol Nurs Forum [Internet]. 2008;35(1):96–102. Available from: http://onf.ons.org/onf/35/1/total-neuropathy-score-tool-measuring-chemotherapy-induced-peripheral-neuropathy
8. Kautio AL, Haanpää M, Kautiainen H, Leminen A, Kalso E, Saarto T. Oxaliplatin scale and National Cancer Institute-common toxicity criteria in the assessment of chemotherapy-induced peripheral neuropathy. Anticancer Res. 2011;31(10):3493–6.
9. Curcio KR. Instruments for Assessing Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy: 2016;20(2).
10. Simão DA da S, Murad M, Martins C, Fernandes VC, Captein KM, Teixeira AL. Chemotherapy-induced peripheral neuropathy: review for clinical practice. Rev Dor [Internet]. 2015;16(3):215–20. Available from: http://www.gnresearch.org/doi/10.5935/1806-0013.20150043
11. Derksen TME, Bours MJL, Mols F, Weijenberg MP, T.M.E. D, M.J.L. B, et al. Lifestyle-Related Factors in the Self-Management of Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy in Colorectal Cancer: A Systematic Review. Evid Based Complement Alternat Med. 2017;2017:1–14.
12. Wolf S, Barton D, Kottschade L, Grothey A, Loprinzi C. Chemotherapy-induced peripheral neuropathy: Prevention and treatment strategies. Eur J Cancer. 2008;44(11):1507–15.
13. Pachman DR, Barton DL, Watson JC, Loprinzi CL. Chemotherapy-induced peripheral neuropathy: Prevention and treatment. Clin Pharmacol Ther. 2011;90(3):377–87.
14. Schloss JM, Colosimo M, Airey C, Masci P, Linnane AW, Vitetta L. A randomised, placebo-controlled trial assessing the efficacy of an oral B group vitamin in preventing the development of chemotherapy-induced peripheral neuropathy (CIPN). Support Care Cancer. 2017;25(1):195–204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26