การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกินโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย, นักเรียนประถมศึกษา, ภาวะโภชนาการเกิน, การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 32 คน ครอบครัวของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 32 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูประจำชั้น จำนวน 6 คน ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน จำนวน 4 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะวางแผน ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ พฤติกรรมนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน และวางแผนดำเนินการ 2) ระยะปฏิบัติตามแผนและการสังเกต 3) ระยะสะท้อนผลการปฏิบัติ และ 4) ระยะปรับปรุงการปฏิบัติ เพื่อเข้าสู่วงรอบที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายระดับปานกลาง (x̄ = 1.89, 2.76, 2.36) ตามลำดับ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ชอบดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม ใช้เวลาในการเล่นเกมส์ ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกายเฉพาะชั่วโมงพละศึกษา จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 1) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนต้นแบบ 4) การฝึกหัดและพัฒนาทักษะการคำนวณพลังงานอาหารที่ได้รับและพลังงานที่ใช้ไปอย่างต่อเนื่อง 5) การสนับสนุนจากครอบครัว ครูประจำชั้นร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามเยี่ยมบ้าน 6)โรงเรียนกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกิน 7) ชุมชนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกิน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนากระบวนการดำเนินงานทุกกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดการเห็นปัญหาร่วมกัน ได้ร่วมคิดและตัดสินใจ โดยคำนึงถึงทุน ศักยภาพ และบริบทของชุมชนเป็นสำคัญ จากการประเมินผลลัพธ์ พบว่า 1) นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 0.3, 0.21 และ 0.23 ตามลำดับ 2) มีระดับภาวะโภชนาการดีขึ้น จำนวน 10 คน
References
2. ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร, นิชรา เรืองดารกานนท์, ปราณี ชาญณรงค์, ภาสุรี แสงศภวนิช, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, ... สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์. (2552). รายงานการสร้างสุขภาพประชาชนไทย (สุขภาพเด็ก) โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ค้นจาก http://www.hiso.or.threport health/report/
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกายการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและการนอนหลับสำหรับวัยเรียนและวัยรุ่น(6-17 ปี). นนทบุรี : เอ็นซี คอนเซ็ปต์; 2560.
4. ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:หจก. เบสท์ กราฟฟิค เพรส; 2558.
5. นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. ภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะอ้วน. วารสารประชากรศาสตร์. 2552; 18(2): 69-87.
6. Gable S, Chang Y, Krull JL. Television Watching and Frequency of Family Meals Are Predictive of Overweight Onset and Persistence in a National Sample of School-Aged Children. Journal of the American Dietetic Association .2007; 107(1): 53-61.
7. กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม. สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลสามชัย. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.
8. Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. Freeman NYWH, editor. New York: W. H. Freeman; 1997.
9. กำไลรัตน์ เย็นสุจิตร และภัสรา คิรินทร์ภาณุ.ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2556; 24(1): 71-83.
10. เสาวนีย์ ชูจันทร์, วนลดา ทองใบและ จีราภรณ์ กรรมบุตร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ. 2559; 32: 31-43.
11. Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University. 1988.
12. Bandura, A. Self-Efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological review. 1977; 34(2): 191-215.
13. เครือวัลย์ ปาวิลัย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ บริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มาตรฐานในนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (บางเขน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์; 2550.
14. ศิริพร ขัมภลิขิต, และจุฬาลักษณ์ บารมี. คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตร พยาบาลศาสตร์บัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.
15. สุนีย์ ปิ่นทรายมูล. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.