การบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสุขภาพของชุมชนพึ่งตนเอง

ผู้แต่ง

  • เพชรตะวัน ธนะรุ่ง
  • สุรีย์ ธรรมิกบวร
  • จิรวัฒน์ เวชแพศย์

คำสำคัญ:

การบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสุขภาพของชุมชนพึ่งตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสุขภาพ

ของชุมชนพึ่งตนเอง 3 แห่ง เลือกพื้นที่แบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ รวม 42 คน เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตและบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์เนื้อหา บ่งชี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และสร้างรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชนพึ่งตนเอง ผลการศึกษาคือรูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสุขภาพของชุมชนพึ่งตนเอง ของชุมชนที่ศึกษา ซึ่งพบว่า 1) ชุมชนสันติสุขมีแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งนำพาชาวบ้านฟื้นฟูภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน บูรณาการแนวคิดการพึ่งตนเองเข้ากับวิถีชีวิต ผลิตอาหารให้เป็นยาสร้างสุขภาพ 2) ชุมชนราชธานีอโศก เชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียน บูรณาการพุทธธรรมกับองค์ความรู้สุขภาพและหลักการดูแลสุขภาพ 8 อ.

3) ชุมชนสวนป่านาบุญ มีผู้นำที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพวิถีพุทธสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง ที่บูรณาการศาสตร์สุขภาพเข้ากับพุทธธรรม ลดปัญหาความเจ็บป่วยในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลงโรคได้อย่างเด่นชัด ทั้ง 3 ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ที่ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติจริง

รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่

แหล่งความรู้จากคน องค์กร กิจกรรม สื่อ ปัญหาของชุมชนและศูนย์วิชาการสุขภาพชุมชน 2) กระบวนการเรียนรู้ ที่บูรณาการองค์ประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน 3) ผลลัพธ์คือชุมชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการดูแลสุขภาพของชุมชน คือ (1) การพัฒนาจิตวิญญาณ (2) ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (3) ผู้นำมีคุณธรรมและการมีส่วนร่วมของสมาชิก (4) การเรียนรู้คู่กับการปฏิบัติจริง  (5) การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ (6) ชุมชนที่ประสาน บ้าน วัด โรงเรียนเข้าด้วยกัน การนำรูปแบบไปใช้ ชุมชนควรมีผู้นำที่มีคุณธรรมเป็นพื้นฐานและมีการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม

Downloads