ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า

ผู้แต่ง

  • เรืองศรี ศรีสวนจิก
  • สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนของครอบครัว พฤติกรรมการดูแลเท้า ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้าที่เข้ารับการรักษาในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน ทั้งหมดจำนวน 72 คน จำแนกเป็นกลุ่มควบคุม 36 คน และกลุ่มทดลอง 36 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากทีมสุขภาพประจำคลินิกเบาหวาน ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวที่พัฒนาขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเองของ Bandura และแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ Houseผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.999, p < 0.01) และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 29.223, p< 0.01)

Downloads