ปัจจัยทำนายการควบคุมความดันโลหิตของผู้เป็นความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, การควบคุมความดันโลหิต, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการควบคุมความดันโลหิตของผู้มารับบริการที่คลินิกความดันเลือดสูงของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 222 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความเจ็บป่วย แบบบันทึกค่าความดันโลหิต แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Chi-Square,  และ Binary logistic regression ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 53.2 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ ระยะเวลาเจ็บป่วย จำนวนยารักษาความดันโลหิตสูงที่ได้รับ พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับความเครียดมีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 จำนวนยารักษาความดันโลหิตสูงที่ได้รับ (OR=.148, (95% CI 0.77-0.283, p=.000) และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (OR=2.022, (95% CI 1.081-3.782, p=.028) ร่วมกันทำนาย การควบคุมความดันโลหิตได้ ร้อยละ 27.9 (Cox and Snell R2 = .279)  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ทีมสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลประจำคลินิกความดันโลหิตสูงออกแบบโปรแกรมที่กระตุ้นให้ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น

Downloads