การพัฒนาศักยภาพพยาบาลเพื่อการจัดการความปวด ให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อนงค์ สุทธิพงษ์
  • อัจฉรา อ่วมเครือ
  • เกษร วงศ์วัฒนากิจ
  • ปาริฉัตร อารยะจารุ

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ การจัดการความปวด การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การจัดการความปวด เป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของพยาบาล วิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพของพยาบาลโรงพยาบาลราชบุรี ในการจัดการความปวด และ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการความปวดของโรงพยาบาลราชบุรี และ 3) ประเมินผลการพัฒนาทั้งในระดับองค์กร พยาบาล และผู้ป่วย การวิจัยเริ่มด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์พัฒนาการจัดการความปวดที่มีอยู่ ดำเนินการพัฒนา ซึ่งมีการสะท้อนคิดตลอดกระบวนการจนได้ผลลัพธ์ ผู้มีส่วนร่วม ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่พยาบาลในกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ และผู้ป่วยซึ่งอยู่ในหอผู้ป่วยนำร่องการพัฒนาการจัดการความปวด ระยะเวลาวิจัย 3 ปี 4 เดือน ใช้แบบแนวคำถามและ แบบสอบถาม ซึ่งมีทั้งที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและนำเครื่องมือวิจัยของสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี มาปรับใช้

ผลการวิจัย พบว่าพยาบาลที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทุกคนมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 76  ส่วนใหญ่ ร้อยละ84.2 คิดว่าสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ ในการวิจัยได้พัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการความปวดของโรงพยาบาลราชบุรี เนื้อหาครอบคลุม วิธีการประเมินความปวดในผู้ป่วยประเภทต่างๆ แต่ละเวลา เครื่องมือและวิธีการใช้ วิธีการบำบัดและบันทึกความปวด ระบุวิธีการใช้แนวปฏิบัติ ที่ให้พยาบาลทุกคนปฏิบัติกับผู้ป่วยทุกคน และต้องแจ้ง Pain nurse เมื่อมีปัญหา มีการพัฒนาคู่มือและช่องทางการสื่อสาร ในภาพรวมพยาบาลส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.3 พึงพอใจแนวปฏิบัติการจัดการความปวดอยู่ในระดับดี ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลมีคะแนนความปวดไม่เกิน 3 คะแนน  ยกเว้น ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่    และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากยาบรรเทาปวด  มีพึงพอใจต่อการจัดการความปวดร้อยละ 87.5   ส่วนใหญ่พยาบาลมีการรับรู้ว่าตนเองมีการจัดการความปวดให้กับผู้ป่วยร้อยละ 80.0 ซึ่งต่างกับการรับรู้ของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) โดยพยาบาลรับรู้สูงกว่า ผู้วิจัยเสนอให้มีการพัฒนาศักยภาพพยาบาลต่อเนื่องเพื่อการจัดการความปวดตามโมเดลชีวจิตสังคมที่มีสหวิชาชีพ และเน้นวัดผลลัพธ์การจัดการความปวดในเชิงคุณภาพ

Downloads