การพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย ในผู้ป่วยขณะสลายนิ่วในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธันยมัย ปุรินัย

คำสำคัญ:

การสลายนิ่ว, ความสุขสบาย, การพัฒนาแนวทาง, ดนตรีบำบัด.

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบายในผู้ป่วยขณะสลายนิ่วในโรงพยาบาลศรีสะเกษโดยใช้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการพยาบาลตามกรอบแนวคิดของDonabedianและการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2553 ถึง มิถุนายน 2553 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย1)วิสัญญีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ประจำห้องสลายนิ่ว ท่านตามลำดับเป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติ 2) ผู้ป่วยที่มารับการสลายนิ่วที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มก่อนพัฒนาที่ไม่ได้รับดนตรีบำบัด 15 ราย ที่ได้รับการพยาบาลปกติ และกลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัด จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ ดนตรีบำบัดประเภทผ่อนคลาย จำนวน 39 เพลง แผ่นพับคู่มือการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบายในผู้ป่วยขณะสลายนิ่ว แบบบันทึกจำนวนครั้งของการได้รับยาและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับความสุขสบายขณะรับการสลายนิ่วและความพึงพอใจของผู้รับป่วยขณะรับการสลายนิ่ว แบบสอบถามความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ประจำห้องสลายนิ่วในการใช้ดนตรีบำบัด ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88 และ0.89 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา พบว่าแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยขณะสลายนิ่วในโรงพยาบาลศรีสะเกษ เมื่อนำใช้กับผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยกลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัด มีคะแนนความสุขสบายมากกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาที่ไม่ได้รับดนตรีบำบัด =4.73   ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการกลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัดขณะสลายนิ่วมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาไม่ได้รับดนตรีบำบัด  =3.74  กลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัดไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด (ปัสสาวะเป็นเลือด) จำนวนครั้งของการได้รับยา Sedative(Fentanyl , Dormicom ) และจำนวนครั้งของการหาจุดโฟกัสใหม่ จำนวนครั้งของการขยับตัวขณะทำการสลายนิ่วในกลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัดมีจำนวนครั้งน้อยกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาที่ไม่ได้รับดนตรีบำบัด  ส่วนเวลาที่ใช้ในการสลายนิ่วในกลุ่มหลังพัฒนาที่ได้รับดนตรีบำบัดน้อยกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาที่ไม่ได้รับดนตรีบำบัด และวิสัญญีพยาบาล และเจ้าหน้าที่ประจำห้องสลายนิ่ว มีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบายอยู่ในระดับมาก  =4.70  

สรุปการศึกษา พบว่าดนตรีบำบัดที่ผู้รับบริการเลือกนั้นสามารถช่วยส่งเสริมความสุขสบายในผู้ป่วยขณะทำการสลายนิ่วได้ การพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุขสบายจึงมีความเหมาะสมกับ

ผู้ป่วยขณะทำการสลายนิ่วและส่งผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและทีมสุขภาพซึ่งส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด

Downloads