การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจากปริมาณความเข้มข้นของเรเดียม 226 ในแม่น้ำพอง เขตจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิษณุศาสตร์ อาจโยธา

คำสำคัญ:

เรเดียม 226, แม่น้ำพอง, ขอนแก่น, มะเร็ง

บทคัดย่อ

ตรวจวัดความเข้มข้นของเรเดียม 226 ในตัวอย่างน้ำ จากแม่น้ำพอง ที่ไหลผ่านในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 320 ตัวอย่าง จาก 67 หมู่บ้าน 33 ตำบล 6 อำเภอ โดยใช้เทคนิคการดูดซับเรเดียม 226 ของแมงกานีสไฟเบอร์ร่วมกับการใช้เทคนิคแกมมาสเปกโตรเมตรี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ค่าความเข้มข้นของเรเดียม 226 ในแม่น้ำพอง มีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 77.27 mBq/l มีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 47.61 mBq/l ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าระดับความปนเปื้อนสูงสุดที่ยอมรับได้ของทบวงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา (EPA) กำหนดค่าให้ไม่ควรเกิน 111 mBq/l จากผลการตรวจวัดความเข้มข้นของเรเดียม 226 ในตัวอย่างน้ำทั้งหมด มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น แต่ยังมีอยู่ 2 บริเวณ ที่น่าเป็นห่วง และควรระวัง ได้แก่ บ้านห้วยบง ต.ทุ่งชมพู อ.ภูเวียง มีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของเรเดียม 226 เท่ากับ 77.27 mBq/l และบ้านห้วยทราย ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์  มีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของเรเดียม 226 เท่ากับ 75.36 mBq/l  หากมีการสะสมของเรเดียม 226 ในร่างกายจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ เนื่องจากค่าความเข้มข้นของเรเดียม 226 ที่วัดได้ สูงกว่าบริเวณอื่นมาก ดังนั้นจึงต้องทำการแจ้งข้อมูลและแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งจากการใช้น้ำอุปโภค บริโภคที่มีเรเดียม 226 ปนเปื้อนอยู่ ให้แก่พยาบาล แพทย์ในชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ เข้าใจ และสามารถแนะนำวิธีการป้องกันความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งแก่ประชากรที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำดังกล่าวได้ โดยทำการกรองน้ำก่อนใช้ทุกครั้ง ซึ่งต้องกรองน้ำผ่านเครื่องกรองชนิดประจุลบ (Anionic Resin) จะสามารถสกัดกั้นเรเดียม 226 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ให้ปนเปื้อนในน้ำได้ถึง 99 %

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27