ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อการรับรู้อาการ และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคปอด
คำสำคัญ:
การรับรู้อาการ การจัดการอาการ การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยวัณโรคปอดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อการรับรู้อาการและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย วัณโรคปอด โดยใช้แนวคิดการจัดการอาการของลาร์สัน และคณะ เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 11 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลภายใน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินการรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ และแบบประเมินการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน (= 1.0) อาการคันหรือผื่นคัน (= 1.5) อาการชามือหรือเท้า (= 2.0) และอาการปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ (= 2.3) ต่ำกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
โปรแกรมการจัดการอาการทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ลดลง เช่น อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน อาการคันหรือผื่นคัน อาการชามือหรือเท้า และอาการปวดข้อหรือกล้ามเนื้อลดลง และผู้ป่วยวัณโรคปอดยังรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นได้