การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ The Development of Discharge Planning Model for Patients with Head injury

ผู้แต่ง

  • พูลสุข จันทรโคตร

คำสำคัญ:

รูปแบบการวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะและศึกษาผลการพัฒนาต่อความรู้ ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะและความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล ระหว่างตุลาคม 2554 ถึงธันวาคม 2555 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ จำนวน 20 คน ผู้ดูแลจำนวน 20 คน และบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 8 คน ขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพเดิมของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) ประยุกต์ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ 4) ประเมินผล

ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ดูแลมีค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บศีรษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านความสามารถในการดูแลผู้ป่วยภายหลังติดตาม 30 วัน พบว่า มีค่าคะแนนความสามารถเพิ่มสูงก่อนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญ 0.01 ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยในระดับมากที่สุด (98.89%) และไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 ชั่วโมง

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการกำหนดรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะของผู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Downloads