การปฏิบัติบทบาทครูพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาล ศูนย์กลาง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • มะณีวรรณ พรมมะวรรณ
  • วรรณชนก จันทชุม

คำสำคัญ:

ครูพี่เลี้ยง การปฏิบัติบทบาทครูพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาการปฏิบัติบทบาทครูพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลศูนย์กลาง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากรที่ศึกษาเป็นพยาบาลประจำการที่เป็นครูพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลศูนย์กลางทั้ง 4 แห่ง โดยทำการศึกษาจากประชากรทั้งสิ้นจำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน หาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.97 แจกแบบสอบถามโดยผู้วิจัยและได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติบทบาทครูพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.95, S.D = 0.79) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเป็นแบบอย่าง การให้คำแนะนำปรึกษา การปฏิบัติการทางคลินิก การนิเทศ การประเมินผล และการสอนอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยตามลำดับ ( = 4.42, S.D = 0.75;  = 4.22, S.D = 0.83;   = 4.11, S.D = 0.78;  = 4.06, S.D = 0.92;   = 3.95, S.D = 0.92 และ  = 3.86, S.D = 0.89) ส่วนด้านการวิจัยมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.03, S.D = 1.04) ดังนั้น ผู้บริหารการพยาบาลควรมีการสนับสนุนให้ครูพี่เลี้ยงมีการปฏิบัติบทบาทอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สำหรับการพัฒนาบทบาทด้านการวิจัยควรมีการสนับสนุนด้านความรู้ ทักษะด้านการวิจัย การนำผลการวิจัยไปใช้ และจัดหาแหล่งทุนสนับสนุน นอกจากนั้นควรเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก

Downloads