ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย / หัวหน้างาน กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุนทรี หาญเสมอ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล การสื่อสาร การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างาน ระดับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพและความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างานกับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรศึกษาพยาบาลวิชาชีพ 804 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ในโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินHA จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 143 คน จากการสุ่มตัวอย่างเชิงเดียว ระหว่าง มกราคม – พฤษภาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ที่ผ่านการวิเคราะห์หาความเที่ยงและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ .97 และ.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการสื่อสารข้อมูลของหัวหน้าหอผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก (= 3.6808 ,SD = 0.6533) (2) ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมาก (= 3.5965,SD=.7552) (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารข้อมูลของหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างานกับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป การสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างานมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์  การสื่อสารมีความสำคัญกับหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างานซึ่งสามารถนำไปพัฒนาตนเองในด้านการสื่อสารและพัฒนาระบบการสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพงานบริการในโรงพยาบาลมากขึ้นเพื่อความสำเร็จบรรลุเป้าหมายงานที่กำหนดไว้ต่อไป

Downloads