การพัฒนารูปแบบพัฒนาทักษะอาจารย์พยาบาลในการลดความวิตกกังวล จากการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วิยะดา รัตนสุวรรณ
  • พิมพิมล วงศ์ไชยา
  • จันจิรา อินจีน

คำสำคัญ:

อาจารย์พยาบาล นักศึกษาพยาบาล ความวิตกกังวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาทักษะอาจารย์พยาบาลในการลดความวิตกกังวลจากการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบ 4) การประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ จำานวน 5 ท่าน และทดลองใช้กับอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล จำานวน 30 คน หลังจากนั้นนำาไปอบรมกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคเหนือ จำานวน 30 คน และประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะการช่วยเหลือเกี่ยวกับความวิตกกังวลของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการอบรม จากการประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะการช่วยเหลือเกี่ยวกับความวิตกกังวล ก่อนและหลังเสร็จสิ้นการอบรม พบว่า หลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างจำานวน 26 คนคิดเป็น ร้อยละ 86.67 มีคะแนนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการอบรม ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะอาจารย์พยาบาลในการลดความวิตกกังวลจากการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้น คือ ALERT Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) Awareness and assess การสร้างความตระหนักและการประเมินความวิตกกังวล 2) Listen empathetically and empathy การพัฒนาทักษะการฟังและความเข้าใจผู้อื่น 3) Relaxation and mindfulness การสอนเทคนิคการผ่อนคลายและการฝึกสติ 4) Thinking and reflection การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด การศึกษาติดตามผลการนำารูปแบบไปใช้กับนักศึกษาในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติกับอาจารย์พยาบาลที่ผ่านการอบรมซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง โดยเปรียบเทียบกับนักศึกษาที่ขึ้นฝึกกับอาจารย์ที่ไม่ผ่านการอบรมซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม พบว่าก่อนการฝึกภาคปฏิบัติกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลไม่แตกต่างกัน และหลังการฝึกปฏิบัติ ในสัปดาห์ที่สี่พบว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองต่ำากว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ

Downloads