อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลของสถานการณ์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น Interpersonal Influences, Situational Influences, and Health Promoting Behaviors of Adolescent Mothers

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ นันตา
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์
  • บังอร ศุภวิทิตพัฒนา

คำสำคัญ:

อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลของสถานการณ์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น

บทคัดย่อ

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่น  พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมจะส่งผลให้มารดาวัยรุ่นมีภาวะสุขภาพดี และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะหลังคลอด การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลระหว่างบุคคล  อิทธิพลของสถานการณ์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุระหว่าง 13 – 19 ปี ที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพหลังคลอด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โรงพยาบาลพะเยา  และโรงพยาบาลลำพูน  ระหว่างเดือนเมษายน  ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2560  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด  จำนวน 85 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น  ของเจิดนภา แสงสว่าง บังอร ศุภวิทิตพัฒนา และพรรณพิไล ศรีอาภรณ์ (2559) แบบสอบถามอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น  และแบบสอบถามอิทธิพลของสถานการณ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น ที่พัฒนาโดย สุภาภรณ์    นันตา  พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ และบังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2560) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลระหว่างบุคคลของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (  = 98.12,  S.D. = 12.18)  อิทธิพลของสถานการณ์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 68.34,  S.D. = 8.82) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 150.13, S.D. = 15.81) อิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .658,  p < .01)  อิทธิพลของสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .466,  p < .01)

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27