การประเมินการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางกระดูกและข้อ The evaluation of Pain Management Guideline in Patients With Orthopedic Surgery

ผู้แต่ง

  • ดวงสุดา วัฒนธัญญการ
  • บัวหลวง สำแดงฤทธิ์
  • นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางกระดูกและข้อต่อระดับความรุนแรง ความเพียงพอของการจัดการความปวด และความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดในรอบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางกระดูกและข้อที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 65 ราย และพยาบาลผู้ดูแลจำนวน 15 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน-ธันวาคม 2558 ในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางกระดูกและข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเพียงพอและแบบประเมินความรุนแรงของความปวด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติของผู้ป่วยและพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผ่าตัดทางกระดูกและข้อที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการจัดการความปวดมีคะแนนความปวดโดยเฉลี่ย 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดที่ปวดระดับน้อย มีความเพียงพอของการได้รับการจัดการความปวด และมีความพึงพอใจต่อการได้รับการจัดการความปวดในภาพรวมที่ระดับมาก (Mean = 4.37, SD = .54) พยาบาลผู้ดูแลมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดด้านการให้ข้อมูลความรู้เรื่องความปวดและการจัดการความปวดก่อนผ่าตัด (Mean = 4.73, SD = .45) และโดยภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการใช้แนวปฏิบัติ (Mean = 4.53, SD = .51) ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางกระดูกและข้อว่าสามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางกระดูกและข้อได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27