การปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี Role Performances of Registered Nurses in Primary Care Unit, Muang Udonthani
คำสำคัญ:
บทบาทพยาบาลวิชาชีพ หน่วยบริการปฐมภูมิ Role Performances of Registered Nurses, Primary Care Unitบทคัดย่อ
Abstract
The purpose of this research were to study Role performances of registered nurses in Primary Care Unit. Population in This study was 73 people who working in primary care unit in Muang Udon Thani provincial. Data analysis were percentage, mean standard deviation and One -way ANOVA by statistical computer software.
Result of this study were indicated mainly population are women 95.9 percent mainly in the age range 40 - 49 years, representing 58.9 percent the majority of undergraduate 91.8 percent. Duration of working in Primary Care Unit mostly in the range of 1-10 years, representing 52.1 percent. Role performances of registered nurses were classified by the role found that the item to be “Care provider” is performed at a highest level (= 2.95, S.D = 0.19) the second was “Advocator” ( = 2.87, S.D = 0.28) and “The Health counselor” (= 2.86, S.D = 0.35). Role in lower performance was “Leadership” (= 2.61, S.D = 0.48) and a “Health educator” (= 2.61, S.D = 0.48). The result of comparison in role performances of registered nurses between differences period of timing for worked in Primary Care unit were not significant. The recommendations from the study is should be encourage a leadership skill and health educator skill for registered nurses, emphasizing the role for an instructor or provider of health education, the interaction between nurses and clients. This is an activity to help the people gain knowledge and change them to appropriate behavior for their health.
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพและเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามบทบาทกับระยะเวลาการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 73 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วน 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.9 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 40-49 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 91.8 ระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ อยู่ในช่วง 1-10ปี ร้อยละ 52.1 ส่วนการปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกบทบาทรายด้านพบว่าด้านการเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงสุด (=2.95, S.D = 0.19) รองลงมาคือ ด้านการเป็นผู้พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค (= 2.87, S.D = 0.28) และ บทบาทด้านการเป็นที่ปรึกษา (= 2.86, S.D = 0.35) ส่วนบทบาทที่มีการปฏิบัติต่ำกว่าทุกด้านคือ ด้านการเป็นผู้นำ (= 2.61, S.D = 0.48) และด้านการเป็นผู้สอนหรือให้ความรู้ ( = 2.61, S.D = 0.48) เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของการปฏิบัติงานกับระดับการปฏิบัติตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพพบว่าระยะเวลาที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับการปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมและเพิ่มทักษะในการเป็นผู้นำ บทบาทการให้ความรู้ ให้พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เน้นบทบาทการเป็นผู้สอนหรือผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ และทักษะการการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ ซึ่งเป็นกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเหลือให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้นำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม