การพัฒนาระบบบริการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดโรงพยาบาลมหาสารคามและ โรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม The Development Nursing Service System of Preterm Infant in Mahasarakham Hospital and Network

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ชมภูหลง
  • สุวัลยา ศรีรักษา

คำสำคัญ:

Development Nursing Service System, Preterm Infant, Network การพัฒนาระบบบริการพยาบาล ทารกเกิดก่อนกำหนด เครือข่าย

บทคัดย่อ

Abstract

The objectives of this study were to develop and evaluate the efficiency of nursing service system for preterm infant in Mahasarakham Hospital and Network. Participatory action research was used in two phases and the research approach used in the study was (1) the development of service system of preterm infant in Mahasarakham Hospital during 1 October 2010 – 30 September 2011 and (2) the extension of the referral service system to  community hospital network in Mahasarakham Province during 1 October 2011 – 30 September 2012. Participants were health care providers , mothers or care givers , preterm infant. Nursing service system of preterm infant was develop from the concept of nursing care system  those were  input , process and outcome and also included four stages , planning , action , observation and reflection which  were conducted in this study. Evaluation of the different of standardization of newborn care , experience and expertise of health care providers and the need of mothers or care givers brought about to develop the nursing service system and implement to Mahasarakham  Hospital and 20 of their primary care networks. Continuation of the service was evaluated , develop and applied to 10 community hospitals in the second phase. Study method was conducted by using focus group , questionnaires surveying, group discussion among participants and review  patient’s document.

Results  showed that the quality nursing service system complied with identified problems and need of customers and health care providers . Satisfaction of mothers or care givers was 89.05 % and in health care providers was 90.5% . Outcome found that  preterm birth in pregnancy risk group , complication and infection rate were decreased , survival rate increased was 94.94%, length of stay decreased from 45 days to 35 days and re-admission decreased and also mothers or care givers has educated before discharge. Complication during referral decreased , community hospitals network were standardized and potential care and efficient management for service system in all networks.

 

 

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR)1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา พัฒนาและทดสอบประสิทธิผลระบบบริการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดโรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม  ดำเนินการวิจัยเป็น 2  วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 การพัฒนาระบบบริการทารกเกิดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลมหาสารคาม ดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554  วงรอบที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลและส่งต่อทารกเกิดก่อนกำหนดร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายในจังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555 ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่  บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด  มารดาหรือผู้ดูแลหลัก ทารกเกิดก่อนกำหนด  และผู้วิจัย  ในการวิจัยแต่ละวงรอบ มี 4 ขั้นตอน  ประกอบด้วย  วางแผน  ลงมือปฏิบัติ สังเกตการณ์ และสะท้อนผล  โดยพัฒนาระบบบริการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดจากการวิเคราะห์ส่วนต่างตามมาตรฐานการจัดบริการทารกแรกเกิดของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของบุคลากรสุขภาพ  ความต้องการของมารดาหรือผู้ดูแลหลัก ระบบบริการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้ถูกนำไปปฏิบัติจริงในโรงพยาบาลมหาสารคาม หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย จำนวน 20 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย จำนวน 10 แห่ง ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขจนได้ระบบบริการทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีประสิทธิภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสนทนากลุ่ม   แบบสอบถาม  การประชุมปรึกษาหารือ  และการทบทวน            เวชระเบียน

ผลการศึกษา พบว่า มีระบบบริการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของผู้รับบริการและทีมสุขภาพ ใช้ร่วมกันทั้งเครือข่าย  ส่งผลให้มารดาหรือผู้ดูแลหลัก มีความพึงพอใจต่อระบบบริการใหม่ในระดับมาก ร้อยละ 89.05 และบุคลากรสุขภาพร้อยละ 90.5 ผลลัพธ์ด้านสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดดีขึ้นหลังจากใช้ระบบบริการพยาบาล ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงลดลง  การเกิดภาวะแทรกซ้อน และการติดเชื้อลดลง ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 94.94  มารดาหรือผู้ดูแลหลักได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายสามารถดูแลทารกได้ดี ส่งผลให้จำนวนวันนอนเฉลี่ยรักษาในโรงพยาบาลลดลงจาก 45 วันเป็น 35 วัน  การกลับมารักษาซ้ำลดลง  นอกจากนี้โรงพยาบาลชุมชนยังมีศักยภาพในการดูแลและส่งต่อที่มีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย ทำให้ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการส่งต่อลดลงและมีระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันทั้งเครือข่าย

Downloads