การมีส่วนร่วมของสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน Cross-cultural Married Women Participation in Community Health Promotion
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม สตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม การส่งเสริมสุขภาพชุมชน Participation Cross-cultural Married Women Community Health Promotionบทคัดย่อ
ABSTARCT
This qualitative research adopted a participatory rural appraisal approach to explore the means to enhance the participation of cross-cultural married Thai women (CMW) in community health promotion and designate the community health promotion strategies according the Ottawa Charter of Health’s declaration where community health nurses acted as facilitators. Target population included forty Thai women who were married to foreigners (non-Thai) in Tambon of Nong Wua Saw District, Udonthani province. Data collection was done from June 2012 to August 2012 through observations, individual in-depth interviews, focus group discussion and community panel discussion among CMW, village chiefs, Tambon’s headmen, village health volunteers, community members, Tambon municipal members responsible for health promotion, health promoting registered nurses and out-patient department nurses from Nong Wua Saw Hospital.
Results revealed that cross-cultural married women had learned about their husbands’ original cultures and adapted well with the husbands’ globalization culture that was mixed with the women’s local cultures. This merged culture led to unique ways of health promoting living that the CMW would like to share with the community. Drawing from the love and gratefulness in their family, CMW were inspired to create a community stage and network and established community health promotion strategies for personal hygiene care, household sanitation, exercise, healthy diets with low-sodium and organic vegetables, stress relaxation, annual health check-up at both governmental and private hospitals, and vaccinations both when in good health and in sickness.
At first, the CMW participated in community activities such as donating money to build temples and bell towers, and other Buddhist-related events, giving scholarships to local students, engaging in village meetings and other health promotion activities and becoming members and committee members of various local groups. Later the women felt the need to share what they had learned from cross-cultural marriage with foreign husbands and from their experience living abroad to improve the quality of community living. After the community nurse facilitated the participation of CMW in community activities, the community members were more aware of CMW and interested in the women’s experience. On the other hand, the CMW were happy to be a part of the community and raising the awareness for community health promotion that later led them to be change agents in the community.
The learning grew from small groups of relatives and neighbors to a larger community. The CMW shared from their experience and exchanged with the community. This empowered both the women and the community and reinforced their confidence and social values. The community realized the importance of community health promotion and expressed the need to improve their current health promotion activities. This, in turn bolstered the harmony between the CMW and the community. The lesson from this experience emphasized the need to continually promote the cooperative learning that will lead to sustainable and contextually suitable community health promotion.
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้วิธีการศึกษาการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal) เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมในการส่งเสริมสุขภาพชุมชนโดยกำหนด กลยุทธ์ตามแนวทางกฎบัตรออตตาวา และพยาบาลชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น (Facilitator) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นสตรีที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ ในตำบลหนึ่ง ของ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 คน ในช่วงเดือน มิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธี สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและจัดเวทีชุมชนร่วมกับสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน สมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาลที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ พยาบาลแผนกส่งเสริมสุขภาพและ พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองวัวซอ
ผลการศึกษา พบว่า สตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม มีการเรียนรู้วัฒนธรรมของสามีต่างชาติ สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ (Globalization) ของสามี ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น (Localization) ของตนเองอย่างกลมกลืน เกิดเป็นความรู้และแนวปฏิบัติที่สตรีกลุ่มนี้ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ และต้องการนำไปพัฒนาสุขภาพชุมชน จึงนำมาจัดทำกลวิธีส่งเสริมสุขภาพชุมชน ในด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การจัดสุขาภิบาลครัวเรือน การออกกำลังกาย การรับประทานเพื่อสุขภาพ การผ่อนคลายความเครียด การป้องกันอุบัติเหตุ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การเข้ารับบริการโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน เพื่อตรวจและรักษาสุขภาพ โดยใช้ทุนแห่งความรักและความกตัญญูต่อครอบครัว เป็นแรงบันดาลใจให้สตรีกลุ่มนี้ มาสร้างเวทีแลกเปลี่ยนกับชุมชน หรือสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังในการพัฒนาชุมชน สำหรับการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมนั้น ช่วงแรกเป็นการไปร่วมงาน ร่วมบริจาคทรัพย์สิน เงินทอง ในการทำบุญ ทนุบำรุงศาสนา งานบุญประเพณี มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ต่อมาได้เข้าร่วมประชุม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและงานอื่นๆ ตลอดจนเป็นสมาชิกและกรรมการชมรมต่างๆ ในชุมชน สตรีกลุ่มนี้ต้องการเข้ามาร่วมในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน ต้องการนำสิ่งที่ดีงามจากการที่ได้แต่งงานกับสามีต่างชาติ การได้ไปอยู่ต่างประเทศ มาพัฒนาบ้านเกิดในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม เพียงแต่ให้โอกาส เชิญให้มามีส่วนร่วมและให้คุณค่าอยางต่อเนื่อง จากการที่พยาบาลชุมชนได้แสดงบทบาท เป็นผู้กระตุ้นให้สตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมมามีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนรับรู้ ตระหนัก สนใจสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมมากขึ้น ทำให้สตรีมีความสุขที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน สตรีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้กระตุ้นและผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้
เวทีการเรียนรู้ร่วมกัน จากกลุ่มเล็กๆ ขยายสู่เครือญาติ และเพื่อนบ้าน จึงเป็นวิธีการที่สร้างเครือข่ายที่สตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม ใช้ถอดบทเรียนตนเอง และแลกเปลี่ยนกับชุมชน จนเกิดพลังอำนาจ เกิดความเชื่อมั่นในความดีงามของตนและมีคุณค่าในสังคม ส่วนชุมชนเกิดความตระหนัก อยากร่วมพัฒนา เกิดการเสริมพลังอำนาจซึ่งกันและกันทั้งสตรีที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมและสมาชิกชุมชน จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องร่วมกัน ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเสริมพลังอำนาจให้เกิดแนวทางส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และยั่งยืนต่อไป