ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทาง สุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 Effects of Self – Management Program on Knowledge, Self – Management, and Health Indicators among Patients with Chronic

ผู้แต่ง

  • กันตาภารัตน์ อ้วนศรีเมือง
  • จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์
  • สุพัตรา บัวที

คำสำคัญ:

chronic kidney disease stage 3, self-management, health indicators. โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 การจัดการตนเอง ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

ABSTRACT

Patients with chronic kidney disease stage 3 (CKD) who are treated with palliative measures must have self-management skill to control and prevent deterioration of the disease. The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of a self-management program on knowledge of self management and health indicators (HbA1C, Blood Pressure) among patients with CKD stage 3. The sample consisted of 30 patients who were followed up at a CKD clinic in Selaphum hospital, Roi-et province. Simple random sampling was used to assign the patients to the experimental group and the control group. The experimental group received the self-management program while the control group received normal nursing care. The instrument for collecting data was tested for content validity by experts. The reliability of the assessment knowledge use to KR-20 (Kuder – Richardson) of the scale was .83.  And the reliability of the assessment self-management use to Cronbach, s alpha coefficient of the scale was .82. The analysis of mean scores, self-management and health indicators were used for data analysis with the independent t-test.

The result of this study revealed the following:

  1. After intervention, the experimental group had a significantly higher mean score for knowledge than that the control group (p < 0.05).
  2. After intervention, the experimental group had a significantly higher mean score for self-management than that the control group (p < 0.05).
  3. After intervention, the experimental group had a significantly lower mean score for the mean of HbA1C than that the control group (p < 0.05). In addition, the experimental group had a non-significantly lower mean score for blood pressure than that the control group (p < 0.05).

In conclusion, patients who received the self-management program had increased health indicators. Therefore, nurses should apply this program for these patients.

 

 

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่ได้รับการรักษาด้วยการประคับประคองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี

ความรู้  ทักษะในการจัดการตนเอง เพื่อควบคุมโรคและชะลอการดำเนินของโรคให้เป็นไปอย่างช้าๆ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้

การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยศึกษาในผู้ป่วย 30 คนที่เข้ารับ

การรักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสลภูมิและมีลักษณะตรงกับคุณลักษณะของ

ประชากรที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการ

จัดการตนเองและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่

แบบประเมินความรู้  และแบบประเมินการจัดการตนเอง  เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา

จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความรู้โดยใช้สูตร  KR-20 ของ Kuder – Richardson ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินการจัดการตนเองโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 วิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยความรู้ การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ(HbA1C, Blood Pressure) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยใช้สถิติ  Independent t – test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
  2. หลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

3. หลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีชี้วัดทางสุขภาพประกอบด้วยค่าเฉลี่ยของระดับ

ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต (Blood Pressure) ในกลุ่มทดลองหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีไม่นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีความรู้การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทางสุขภาพที่ดีขึ้น พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

Downloads