ผลของการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มือถือต่อความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ The Effects of Communication with Handheld Computer on Satisfaction in Communication Among Endotracheal Intubation Patients
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ คอมพิวเตอร์มือถือ การสื่อสาร ความพึงพอใจ endotracheal intubated patients, handheld computer, communication, satisfactionบทคัดย่อ
ABSTRACT
Endotracheal Intubation patients are unable to use verbal communication. As such, they have difficulty in communicating with nurses. For this reason, which in term decreased their satisfaction. The purpose of this quasi-experimental study was to test the effect of communication with handheld computer on satisfaction communication among endotracheal intubation patients. The sample consisted of 24 endotracheal intubation patients who were admitted in the surgical intensive care unit Mahasarakham Hospital. Patients who met the inclusion criteria were assigned to the experimental and the control groups, 12 patients each. The experimental group received the handheld computer to communicate demand with the nurses the control group received the routine communication methods. Data were collected using the satisfaction in communication of endotracheal intubation patients questionnaire. The reliability of this questionnaire was 0.73. The statistics used were Independent t – test and paired t - test
The results of this study revealed as follows:
1. After intervention, the experimental group had significantly higher mean
scores of satisfaction in communication than that the control group (p < .05).
2. After intervention, the experimental group had significantly higher mean
scores of satisfaction in communication than before the intervention (p < .05).
In conclusion, results of this study indicate that handheld computer can help the endotracheal intubation patients to communicate about their problems and needs to the nurses then their problems were solved, therefore, they felt satisfaction in communication.
ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจจะพบปัญหาการพูดไม่มีเสียง ทำให้เกิดการสื่อสารลำบาก พยาบาลไม่สามารถทราบความต้องการของผู้ป่วยได้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่พึงพอใจในการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มือถือต่อความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 24 คน เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองใช้อุปกรณ์สื่อสารคอมพิวเตอร์มือถือสื่อสารเพื่อบอกความต้องการกับพยาบาลกลุ่มควบคุมใช้วิธีการสื่อสารที่ใช้ปกติในหอผู้ป่วยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Independent t – test และ paired t - test
ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มที่ได้รับการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มือถือมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการสื่อสารหลังทดลองมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสื่อสารแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
2. กลุ่มที่ได้รับการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มือถือมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการสื่อสารหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยสื่อสารสำหรับผู้ป่วย ที่ใส่ท่อช่วยหายใจทำให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารบอกปัญหาและความต้องการกับพยาบาลได้เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนองทำให้ผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจในการสื่อสารเพิ่มขึ้น