ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี The Effectiveness of Nursing System Development in Patients with Breast Cancer Receiving Chemotherapy in Nopparatrajathanee Hospital.

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ นิยมพฤกษ์
  • ศรัจจันทร์ ธนเจริญพัทธ์
  • วณิชชา เรืองศรี

คำสำคัญ:

Nursing System Development, CURN Model, Breast Cancer Receiving Chemotherapy การพัฒนาระบบการพยาบาล, CURN MODEL, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

Abstract

 

The aims of this study were to examine the effectiveness of nursing system development of  chemotherapy management guideline, regarding patients and hospital outcomes. in patient care with breast cancer receiving chemotherapy. CURN model was used as a conceptual framework for the system development.    A purposive sampling of thirty nurses in chemotherapy units and twenty one patients with breast cancer receiving AC regimen were recruited for the study between December 2012 and February 2013. Descriptive statistics and paired t-test were used to analyzed data.

After the system development showed that chemotherapy management guideline can be used

for  patient care with breast cancer and improved quality of care both patients outcomes and hospital outcomes. For patients outcomes revealed that patients did not have extravasation,  90.48% with ANC >1500 neutrophils/mcL, 9.52% with ANC < 1500 neutrophils/mcL. and 90.78% did not have  neutropenia.  And for hospital outcomes showed that nurse’ knowledge on nursing care patients with breast cancer receiving chemotherapy after system development was significantly higher than before the system development (t=-4.63, p=.000). For satisfactions of patients after system development was in high  level 95.24%.

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการนำแนวปฏิบัติการบริหาร

เคมีบำบัดมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ต่อคุณภาพการพยาบาลที่วัดจากผลลัพธ์ผู้ป่วย  และวัดจากผลลัพธ์โรงพยาบาล กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ CURN Model กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยรับยาเคมีบำบัด จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด สูตร AC ช่วงเวลา เดือน ธันวาคม 2555– กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 21 ราย   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติ paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการพัฒนาระบบ สามารถนำแนวปฏิบัติการบริหารเคมีบำบัดมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพิ่มคุณภาพของการดูแลทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและโรงพยาบาล โดยผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยไม่พบปัญหาการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.48 มีค่าจำนวนเม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์มากกว่า1500 neutrophils/mcL ขึ้นไป มีเพียง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.52 ที่มีค่าจำนวนเม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์น้อยกว่า1500 neutrophils/mcL และไม่มีการติดเชื้อในร่างกายร้อยละ 90.78  สำหรับผลลัพธ์ด้านโรงพยาบาล พบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดของพยาบาล หลังการพัฒนาระบบสูงกว่าก่อนพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=.000 ส่วนความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังพัฒนาระบบอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 95.24

Downloads