ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล พลเทพ
  • อภิญญา วงศ์พิริยโยธา
  • สุรชาติ สิทธิปกรณ์

คำสำคัญ:

chronic obstructive pulmonary disease, malnutrition, functional capacity โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะทุพโภชนาการ ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย

บทคัดย่อ

ABSTRACT

Patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) who are malnourished have decreased functional capacity leading to reduce self-care capacity.  This quasi-experimental research aimed to examine the effects of a rehabilitation program on functional capacity among COPD patients with malnourished.  The Orem's Self-Care Theory was used as a framework of the study.  Twenty patients who were treated at COPD clinic at Chaiyaphum Hospital who met the inclusion criteria were assigned equally to the experimental group and the control group.  The experimental group received the rehabilitation program and the control group received the usual care.  Functional capacity was evaluated by 1) evaluating the impact of COPD on functional capacity using Chronic Obstructive Pulmonary Disease Assessment TestTM (CAT) and 2) six minute walk test.  A reliability of CAT was 0.81.  Data were analyzed using independent t – test and paired t – test.

The results of this study revealed that after intervention, the experimental group had a significantly lower mean score of the impact of COPD on functional capacity than before intervention and than that the control group (p < .05). Also, the experimental group had a significantly higher mean 6 MWD than before intervention and had a significant increase in the mean difference of 6 MWD than that the control group (p < .05).

In conclusion, patients who received the rehabilitation program in this study had increased functional capacity. Therefore, a rehabilitation program is recommended in providing care for COPD patients with malnutrition.

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะทุพโภชนาการ จะมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองลดลง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัย ศึกษาในผู้ป่วย 20 คนที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ และมีลักษณะตรงกับคุณลักษณะของประชากรที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ การประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายประเมินได้จาก 1) แบบประเมินผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย (COPD Assessment TestTM : CAT) ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .81  2) การทดสอบการเดินใน 6 นาที  (Six minute walk test) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  Independent  t – test  และ Paired  t - test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายน้อยกว่าก่อนการทดลองและน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  และกลุ่มทดลองมีระยะทางการเดินเฉลี่ยใน 6 นาทีหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองและมีระยะทางการเดินเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นใน 6 นาที มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย มีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายเพิ่มขึ้น พยาบาลควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะทุพโภชนาการ

Downloads