การพัฒนาระบบการใช้แนวปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี Nursing system development for risk of medication errors protocol on participation of nursing mod

ผู้แต่ง

  • ร้อยตรีหญิง ศิริรัตน์ วีรกิตติ
  • จินตนา วราภาสกุล
  • บุญเรือน ชุ่มแจ่ม

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, แนวปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูง, ส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ, ป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา Nursing system development, Risk of medication errors protocol, Participation of nursing model, Prevention medication errors rate

บทคัดย่อ

Abstract:

The purposes of this study were to examine the effectiveness nursing system development for risk of medication errors protocol on participation of nursing model for prevention medication errors rate. Seventy –four nurses in 4 units including, female medical, intensive medical care, intensive surgical care and male medical units participated in this study. Purposive samplings of 74 nurses were recruited for the study. CURN model was used as a conceptual framework for the system development including, identifying problem, protocol development, implementing protocol, and evaluation of the system and outcomes. The evidence-based protocol designed for each unit was used in caring of the nurses during administration high alert drug. Instruments used to collect data included pre-post exam, nurse’s satisfaction questionnaire, and medication errors recording form. Descriptive statistics, paired t-test were used to analyze data.

The findings showed that after the nursing system development for risk of medication errors protocol had the mean scores of knowledge of administration high alert drug after nursing system development more than before nursing system development significantly  (t= -13.61, p=.000) and also one month later nursing system development significantly together(t= 2.05, p=.040). The mean scores of nurse’s satisfaction were at a high level (28.88 scores, S.D.=3.71). Addition, the medication errors rate found that the incidence of the nursing system development medication errors rate covers all severity level were few more than before nursing system development. However, classifications according to severity level include A - B levels increased 13 (24.7%) - 37 (64.91%), C level does not significantly, and D level to a reduced number of 41 (59.25%) - 10. (11.54%). Nevertheless, the nursing system development for risk of medication errors protocol on participation of nursing model for prevention medication errors rate should be monitoring signs and symptoms continued meanwhile it possible to detected severity level and can be managed according to guidelines established.

 

การวิจัยพัฒนาระบบแบบเก็บติดตามไปข้างหน้า  เพื่อพัฒนาระบบการใช้แนวปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายสามัญ  หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงสามัญ   หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม และหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โดยใช้ CURN Model ที่เน้นการมีส่วนร่วมของพยาบาลทุกขั้นตอน เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบ ในช่วงระยะเวลา 7 เดือนหลังการพัฒนาระบบ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม 2555 โดยมีผู้ร่วมการวิจัยที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ มีจำนวน 74 คน ส่วนการพัฒนาระบบใช้โมเดลของ CURN เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การแจกแจงปัญหา 2) การสร้างแนวปฏิบัติ 3) การนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติและระบบ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของพยาบาลวิชาชีพ แบบวัดความรู้เรื่องบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาล   วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาลระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาระบบ ด้วยสถิติ Paired t-test และอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยากลุ่มเสี่ยงสูงหลังการพัฒนาระบบใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) โดยแสดงค่าความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษาหลังการพัฒนาระบบการใช้แนวปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพพัฒนาขึ้น พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาลหลังการพัฒนาระบบมากกว่าก่อนพัฒนาระบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -13.61, p=.000)  และเมื่อทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาลเฉลี่ยระหว่างหลังการพัฒนาระบบหลังการอบรมความรู้ทันทีและภายหลังการพัฒนาระบบ 1 เดือน พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาระบบภายหลังการพัฒนาระบบ 1 เดือน มากกว่าหลังการพัฒนาระบบหลังการอบรมความรู้ทันที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 2.05, p=.040) และในด้านความพึงพอใจในการใช้แนวทางปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาล พบว่าหลังพัฒนาระบบ มีระดับความพึงพอใจมากในการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงของพยาบาล โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 28.88 คะแนน (S.D.=3.71) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านการปฏิบัติของพยาบาลในการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูง พบว่า ภายหลังการพัฒนาระบบเกิดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยากลุ่มเสี่ยงสูง คลอบคลุมระดับความรุนแรงทุกระดับ มีมากกว่าก่อนการพัฒนาระบบเล็กน้อย แต่เมื่อจำแนกตามระดับความรุนแรง ประกอบด้วย ระดับ A - B เพิ่มขึ้นจาก 13 ครั้ง (24.07%)   เป็น 37 ครั้ง (64.91%) ระดับ C ไม่แตกต่าง ระดับ D ขึ้นไปมีจำนวนลดลง จาก 41 ครั้ง(59.25%) เหลือ 10 ครั้ง(11.54%) อย่างไรก็ตามอธิบายได้ว่า พยาบาลได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการบริหารยากลุ่มเสี่ยงสูงที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยติดตามตรวจสอบอาการและอาการแสดงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถดักจับและตรวจพบระดับความรุนแรงทุกระดับดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นและสามารถจัดการดูแลได้ตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้

Author Biography

ร้อยตรีหญิง ศิริรัตน์ วีรกิตติ

Associate Professor

Downloads