การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
คำสำคัญ:
system development, clinical practice guideline in caring of patients with sepsis syndrome, nurses’s knowledge, patient’s outcomes การพัฒนาระบบ แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ความรู้ของพยาบาล ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยบทคัดย่อ
Abstract
This Comparative Retro-Prospective before and after intervention study aimed to examine the effectiveness of system development in using clinical practice guideline in caring of patients with sepsis syndrome. Roger’s diffusion of innovations (Roger, 1995) integrated with Sullivan’s collaboration’s concept (Sullivan, 1998) was used as a conceptual framework of this study. A purposive sampling of 62 nurses, and 146 patients with sepsis syndrome, each 73 for retrospective and prospective groups, was recruited for this study. Nurses were educated and trained how to use the guideline in caring of the patients with supervision for 12 weeks. Nurses’ knowledge before and after and patients’ outcomes of the retrospective and prospective groups were analyzed by using paired t-test, Mann-Whitney U-test, Chi-Squares and Fisher Exact test
The findings showed that the mean knowledge score of nurses after the system development were significantly higher than that of before the development (p = .000), patient outcomes regarding early signs detection receiving antibiotics in 1 hours, mean arterial pressure > 65 mmHg, and urine output > 0.5 ml/kg/hr of the prospective group were significantly different from those of the retrospective group.
การวิจัยเชิงเปรียบเทียบแบบ Retrospective Prospective before and after intervention design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบในการนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ โดยนำกระบวนการของ Roger (1995) และการประสานความร่วมมือของ Sullivan (1998) เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็น ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 62 รายและผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดก่อนและหลังการพัฒนาระบบจำนวนกลุ่มละ 73 ราย รวม 146 ราย การพัฒนาระบบประกอบด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดแก่พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงาน นำแนวปฏิบัติไปใช้และติดตามนิเทศเพื่อแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลความรู้ของพยาบาล และผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยก่อนและหลังพัฒนาระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Paired t-test, Mann-Whitney U test, Chi-Square และ Fisher Exact test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลหลังการพัฒนาระบบสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) และผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยที่วัดจากความสามารถในการดักจับอาการเปลี่ยนแปลง การได้รับยาต้านจุลชีพภายใน 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยความดันเลือดสูงกว่า 65 มิลลิเมตรปรอท และปริมาณปัสสาวะมากกว่า 0.5 มิลลิลิตร/ กิโลกรัม/ชั่วโมง ของกลุ่มหลังพัฒนาระบบดีกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)